ในการแวะเข้าเมืองของผมในครั้งนี้่ ผมมีสิ่งที่ตั้งใจทำอย่างหนึ่งคือการไปชม สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (Snow White and the Seven Dwarfs) ซึ่งเป็นการจัดฉายในโครงการ 'ทึ่ง ! หนังโลก' ของหอภาพยนตร์ฯ
ไม่ใช่แค่ว่าผมอยากชม Snow White ในโรงภาพยนตร์ซักที (Snow White ฉายครั้งแรกในอเมริกาปี ค.ศ.1937 (พ.ศ.2480) และฉายในไทยที่โรงภาพยนตร์ฮอลลีวูด ถ.เพชรบุรี (ไม่ใช่เมเจอร์ฮอลลีวูดนะ) แต่ผมหาข้อมูลปีฉายในไทยไม่ได้) เท่านั้น แต่เป็นเพราะผมรู้มาว่า สกาล่าและลิโด จะยุติการดำเนินการโรงภาพยนตร์ในสิ้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 ที่จะถึงนี้...
ผมไม่ค่อยได้เข้าชมภาพยนตร์ในโรงสกาล่าบ่อยนักในช่วงหลัง แต่ก็ตั้งใจแรงกล้าที่จะมาดูส่วนหนึ่งก็เพื่อ 'รำลึก' ถึงโรงภาพยนตร์แห่งนี้ แห่งที่แม้ผมจะไม่ได้โตมาตั้งแต่ที่นี่เริ่มสร้าง ไม่แม้กระทั่งรู้จักโรงภาพยนตร์แห่งนี้ในยุครุ่งเรือง แต่ที่นี่ก็เป็นที่ที่ผมเดินเข้ามาเพื่อชมภาพยนตร์ เป็นกระทั่งกิจวัตรในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่ผมจะไม่สามารถเดินเข้ามายังที่แห่งนี้ ขึ้นบันได ผ่านโคมระย้าใหญ่โต เพื่อเดินเข้าไปซื้อตั๋ว เข้าชมภาพยนตร์ในที่แห่งนี้ได้อีก อย่างที่มันเคยเป็น...
การฉายภาพยนตร์ในโครงการนี้ ต่อเนื่องมาจากนำเอาภาพยนตร์ที่จัดว่า คลาสสิค หลายเรื่องมาฉาย ในโครงการ ภาพยนตร์ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ น่าจะนับว่ามีเหตุมาจากการจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง สันติ-วีณา หลังจากมีการค้นพบฟิล์มภาพยนตร์ของเรื่องนี้ในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสำคัญประการหนึ่งในการเป็นภาพยนตร์สีฟิล์ม 35 ม.ม.เรื่องแรกของไทย และได้มีการบูรณะภาพยนตร์เรื่องนี้จากฟิล์มที่ค้นพบ หลังได้รับการบูรณะ ภาพยนตร์เรื่อง สันติ-วีณา ได้เข้าฉายในเซกชั่น "คานส์ คลาสสิค" ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ก่อนมีการจัดฉายรอบพิเศษในไทยขึ้นที่โรงภาพยนตร์สกาล่า ครั้งนั้นนับเป็นครั้งหนึ่งที่คนชมภาพยนตร์เต็มโรงสกาล่าในระยะหลังมานี้ทีเดียว การจัดฉายมีขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2559 เมื่อราวเกือบ 2 ปีก่อน ช่วงก่อนหน้าในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตไม่กี่เดือน... นี้เอง
แทนที่จะปล่อยให้อีเว้นท์นี้ผ่านเลยไป ดูเหมือนหอภาพยนตร์จะเล็งเห็นถึงศักยภาพ ได้ความคิดอันยอดเยี่ยมที่จะจัดฉายภาพยนตร์คลาสสิคอื่นๆให้เข้าตีมกับการจัดฉายภาพยนตร์ สันติ-วีณา นั่นคือการจัดฉายภาพยนตร์ที่ในหลวงรัชกาลที่9 เคยเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ โดยจัดฉายเดือนละเรื่อง ราวๆอาทิตย์ที่1 หรือ2 ของแต่ละเดือนในรอบเที่ยงวันอาทิตย์ โดยเปิดขายตั๋วล่วงหน้า 1 อาทิตย์ และผมคิดว่านี่เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมจริงๆ นอกจากจะเพิ่มเติมแง่มุมที่เราได้ทำความรู้จักกับในหลวงรัชกาลที่9 ในช่วงเวลานั้นแล้ว ในแง่หนึ่งหลายๆองค์ประกอบนั้นผมคิดว่ามันช่างเหมาะสมกับการจัดฉายที่โรงภาพยนตร์สกาล่าอย่างยิ่ง จริงอยู่ว่าอาจมีข้อติติงจากคนที่คุ้นกับระบบโรงภาพยนตร์สมัยใหม่ ซึ่งใหม่กว่าสมัยที่สกาล่าเกิดขึ้นมา ที่จอดรถอาจไม่สะดวกสบายเท่าในห้างที่จอดแล้วเดินหลบลมฝนดินฟ้าอากาศเข้ามาได้เลย แต่ก็อาจต้องแลกกับการวนจอด 18 รอบ ด้วยเวลาที่เหลือเชื่อว่าจะนานได้ขนาดนั้น แต่ที่ตั้งของสกาล่าซึ่งอยู่บริเวณสยาม และสกาล่าเองก็น่าจะนับเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่ค่อยๆช่วยผลักดันให้สยามเติบโตขึ้นเป็นทำเลทองกลางเมืองในยุคก่อนหน้า แม้ว่าปัจจุบันมันจะอ่อนแสงลงไปมากแล้วและมีองค์ประกอบอื่นที่ดึงดูดผู้คนหลากหลายวัยเข้าสู่อณาเขตนั้นก็ตาม ในเมื่อที่ตั้งของสกาล่าอยู่ที่สยามมันก็ยังถือเป็นบริเวณที่เข้าถึงได้ค่อนข้างสะดวก (ถือว่ารถ(สาธารณะ)ติดก็ยังเดินเอาได้(วะ) ผมเองในบางครั้งก็ทำแบบนั้นนะ - - และแม้ว่าบางคนจะไม่ชอบเดินทางเข้าเมืองเลยก็ตาม) และอีกทางหนึ่งที่จอดรถบนห้างก็ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งในการเข้าถึงสกาล่า และสกาล่าก็เป็นโรงภาพยนตร์หนึ่งที่รองรับผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก
นอกจากความรุ่งเรื่องในอดีตแล้ว บรรยากาศของสกาล่าที่อยู่ผ่านกาลเวลามาก็ทำให้โปรแกรมการจัดฉายนี้ยิ่งให้ความรู้สึกพิเศษ (ไม่สำหรับใครก็สำหรับผมนี่แหละ) เมื่ออยู่ในพื้นที่แห่งนี้ แน่นอนว่าในด้านหนึ่งการจัดฉายภาพยนตร์คลาสสิค จากยุคเก่า มาฉายที่นี่ เมื่อเดินเข้ามาในสยามผ่านพื้นที่ที่จะเดินไปยังส่วนขายตั๋วและเข้าสู่ห้องฉาย สิ่งที่เราจะได้สัมผัสก็คือสถาปัตยกรรมอันอยู่คู่กับโรงภาพยนตร์ Stand Alone แห่งสุดท้ายของกรุงเทพ (ผมไม่แน่ใจพอจะกล้าเคลมว่าแห่งสุดท้ายของประเทศไทยนะครับ แต่อย่างไรก็ตามสกาล่าก็น่าจะนับเป็น โรง Stand Alone ที่น่าจะโดดเด่นที่สุดแห่งสุดท้ายที่ยังดำเนินการอยู่ในประเทศไทย) แม้อาจดูไม่เรืองรองอย่างในอดีตด้วยสภาพที่เปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย ไม่ใช่แค่โคมไฟใหญ่ หลายสิ่งหลายอย่างยังคงสะท้อนลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมที่ให้ความรู้สึกหรูหราจากสมัยนั้นให้ปรากฎกับสายตาของคนที่เข้ามาชมภาพยนตร์ในโรงแห่งนี้อยู่ แม้อาจจะเป็นบรรยากาศพื้นหลังสำหรับคนที่เข้าไปชมภาพยนตร์ในโรงก็ตาม ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องรื่นรมย์ไม่น้อยเมื่อคิดว่ามันอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างยุคใหม่อย่างสยาม
ไม่ใช่แค่สถาปัตยกรรมภายนอกเท่านั้น อีกสิ่งหนึ่งที่เมื่อก่อนผมก็ไม่ได้รู้สึกนัก แต่ตอนหลังๆถึงรู้สึกชัดขึ้น (หลังจากตระเวณชมภาพยนตร์ในโรงโน้นนี้มากมาย) ก็คือ พื้นที่ห้องฉายภาพยนตร์ แม้ว่าต้องยอมรับว่าพื้นที่ภายในห้องฉายของสกาล่าไม่ได้สวยใสใหม่เท่าโรงภาพยนตร์สมัยใหม่อื่นๆ ระบบเสียงก็อาจไม่สมบูรณ์เท่าโรงระบบใหม่ๆ ทั้งยังมีกลิ่นของบรรยากาศที่ผ่านกาลเวลามา แต่สิ่งที่ผมรู้สึกเมื่อมาชมภาพยนตร์ในโรงสกาล่า คือ ความโอ่อ่าของมัน สิ่งที่ผมชอบมากมีอยู่ 2 อย่าง คือ บรรยากาศที่ม่านขนาดใหญ่ค่อยๆเลื่อนเปิด และขนาดของโรงและจอสกาล่า มันให้ความรู้สึกแกรนด์อย่างบอกไม่ถูก มีบางเหตุผลที่ทำให้ในระยะหลังๆผมได้เข้าชมภาพยนตร์ที่โรงลิโดบ่อยกว่าสกาล่ามาก แต่เมื่อกลับมาชม โดยเฉพาะเมื่อชมภาพยนตร์ที่มีความรู้สึกใหญ่โตหรือโอ่อ่าในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง ผมจะรู้สึกเสมอว่ามันรู้สึกดีมากที่ได้ดูในโรงสกาล่า ยังกับว่าบรรยากาศของโรงช่วยเสริมส่งให้การชมภาพยนตร์มีบรรยากาศของความโอ่อ่ากว้างขวางบางอย่างประกอบกับตัวภาพยนตร์ แน่ล่ะครับว่าไม่ใช่ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ผมเอนจอยหรือรู้สึกยิ่งใหญ่ เช่น ผมเคยสัปหงกตอนชมเรื่อง Jane got a Gun ที่สกาล่านี่แหละ (โรงอื่นก็เคยสัปหงกนะ ไม่ใช่ไม่เคย) - - ซึ่งแม้ผมจะตื่นมองจอเมื่อ นาตาลี พอร์ตแมน (ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่มาชม หลังจากรู้สึกว่าไม่ได้เห็นเธอบนจอภาพยนตร์มาซักระยะ) ปรากฎตัวบนจอเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม และแน่นอนว่าจอสกาล่าที่แม้จะใหญ่กว่าโรงทั่วไป ก็ยังไม่อาจใหญ่ได้เท่าจอ IMAX ซึ่งจอขนาดใหญ่ที่สุดในระบบ IMAX อยู่ที่ Siam Paragon (ใกล้ๆนี่เอง) ระบบเสียงก็ไม่อาจอลังการได้ขนาดนั้น หรือไม่มีระบบฉาย 3 มิติ (แว่น) แต่สำหรับผมแล้วสกาล่าก็ 'ดีมากพอ' ที่จะทำให้ผมรู้สึก 'อิ่ม' ในการชมภาพยนตร์ในบรรยากาศของสกาล่า โดยเฉพาะเมื่อมันมีบรรยากาศที่เป็น สกาล่า ซึ่งไม่อาจหาได้จากที่ไหนอีก
และยิ่งรู้สึกชัดเมื่อผมได้ชมภาพยนตร์หลายๆเรื่องในโครงการนี้ ภาพยนตร์ที่ถูกเลือกมาฉายหลัง สันติ-วีณา ล้วนเป็นภาพยนตร์คลาสสิค ที่ถือว่า 'โด่งดัง' ในแง่ใดแง่หนึ่ง และในสมัยอันรุ่งเรืองโออ่าของฮอลลีวู้ด โปรดักชั่นของภาพยนตร์หลายเรื่องที่ในสมัยนี้อาจไม่สามารถทำได้หรือไม่มีใครทำแล้ว เมื่อมาปรากฏบนจอภายในโรงภาพยนตร์สกาล่า มันให้ความรู้สึกพิเศษแก่ผมจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นแค่ความผูกพันหรือการคิดไปเอง มันก็เป็นความรู้สึกที่ผมคิดว่าไม่อาจหาได้จากที่ไหน บรรยากาศของภาพยนตร์หลายเรื่องในโครงการนี้ยังนำบรรยากาศพิเศษๆกลับมาสู่โรงภาพยนตร์สกาล่า อย่าง บรรยากาศของการฉายภาพยนตร์ The Sound of Music ที่ถูกเลือกฉายหลัง สันติ-วีณา เป็นภาพที่คนเต็มโรงภาพยนตร์ โดยมีผู้ชมจากหลากหลายรุ่น คงจะมากที่สุดเท่าที่เคยชมภาพยนตร์ในโรง มารวมตัวกันอยู่ในโรงภาพยนตร์นั้น ตั้งแต่ หลานๆไปถึงคุณพ่อคุณแม่คุณย่าคุณยายคุณปู่คุณตา แน่นอนว่าปกติผมไม่ชอบบรรยากาศของความเจี๊ยวจ๊าวในโรงภาพยนตร์ แม้จะเล็กน้อยก็ตาม (เงียบๆ บรรยากาศจะแกรนด์มาก - -) แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้าง และนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผมไม่รู้สึกขัดตาขัดใจเมื่อมีเสียงร้องเพลงคลอไปกับเสียงขับขานจากภาพยนตร์จากทั้งคุณหลาน ทั้งคุณย่าคุณยาย (อาจมีเสียงร้องโยเยบ้างก็ได้ แต่ผมก็จำไม่ได้ว่าได้ยินหรือไม่? - - และใครจะไม่ชอบบรรยากาศอย่างนี้ก็คงไปว่าเขาไม่ได้ สมมติถ้าเกิดเป็นการชม Alien ล่ะก็ผมอาจจะรำคาญด้วยก็ได้ (ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะรำคาญถ้าเขาไปร้อง โด-อะ-เดียร์... ตอนชมนะ) - - ว่าไปก็อยากดูเลยเนี่ย...) แน่นอนว่าส่วนหนึ่งอาจเพราะผมเคยชม The Sound of Music มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในการชมครั้งนั้น มันก็ช่วยให้การชมเป็นครั้งหนึ่งที่เติมบรรยากาศพิเศษให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างที่คงไม่มีครั้งไหนจะเหมือนอีกแล้ว แม้ว่าสมมติจะมีการฉายเรื่องนี้ด้วยฟิล์ม 70 มม. บนจอ IMAX ณ พารากอน ผมก็คงอยากไปดูอยู่นั่นเอง และก็คิดว่าน่าจะมีคนหลากรุ่นไปชมกันเต็มโรงเหมือนเดิม (แต่ผู้หลักผู้ใหญ่คงต้องระวังสโลปของโรง IMAX มากกว่าด้วยนะ เดินขึ้นไปที่นั่งนี่ สะดุดทีมีหนาว แถมเอาเข้าจริงแม้จอจะอลังการได้ใจมาก แต่มันเป็นโรงที่นั่งไม่สบายที่สุดโรงหนึ่งเพราะระยะห่างระหว่างแถวมันช่างแคบเหลือใจ ผมเคยโดนล๊อกขาจากผู้ชมตัวใหญ่แถวหน้าตลอดการชมเรื่อง Interstellar มัง? ถ้าจำไม่ผิด แม้บางเรื่องจะไม่ขนาดนี้ก็ตาม ซึ่งแม้จะคิดว่าก็คุ้มที่ได้ดูบน IMAX แต่ก็นั่นแหละ...มันก็มีสิ่งที่ต้องแลกเหมือนกัน - - รวมทั้งราคาด้วย...) แม้จะคิดว่า ทั้งภาพ ทั้งระบบเสียงที่ได้ คงจะเป็นประสบการณ์ที่เยี่ยมมาก (และคิดว่าจะมีเสียงร้องคลอจากคนหลากรุ่นเหมือนเดิม) แต่มันก็จะไม่มีบรรยากาศของยุคสมัย (แม้ผมจะคิดเอาเอง) ซึ่งต้องเน้นว่าเป็นบรรยากาศโอ่อ่าจากยุคสมัยนั้นที่ได้จากสกาล่าประกอบเป็นพื้นหลังในการเดินเข้าไปชมเช่นกัน... และอย่างไรก็ดี ในการชมภาพยนตร์บางเรื่องในยุคหลังแม้จะเป็นภาพยนตร์ใหม่ๆ ถ้าเป็นเรื่องที่ผมรู้สึกว่าถ้ามีบรรยากาศโอ่อ่าประกอบ มันคงจะเสริมรสได้ดีมาก ผมก็จะยังคิดถึงการไปชมเรื่องนั้นๆที่สกาล่า (ถ้ามันได้ฉายที่สกาล่านะ) อยู่เสมอ
ผมจึงรู้สึกขอบคุณหอภาพยนตร์มากที่จัดโครงการนี้ขึ้นและนำมาฉายที่สกาล่า โดยเฉพาะในปีแรกของโครงการ ซึ่งเป็นโครงการ ภาพยนตร์ที่ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ถูกเลือกมาฉายล้วนเป็นภาพยนตร์ที่มีดีกรีระดับ 'ยักษ์ใหญ่' ในโลกภาพยนตร์ (แม้จะเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู๊ดทั้งหมดก็ตาม) ซึ่งหลายเรื่องผมได้ชมเป็นครั้งแรกที่สกาล่าในโครงการนี้นี่เอง ความประทับใจของแต่ละเรื่องคงได้มีการกล่าวถึงบ้างในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาค่างวดในการรับชมตั๋วธรรมดาก็มีราคาเพียง 100 บาท ซึ่งผมคิดว่าก็คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่หลายคนสามารถมาชมทั้งครอบครัวได้อย่างไม่ลำบากนัก (พร้อมมีตั๋วพิมพ์สีสวยงามไปเป็นที่ระลึก) ผมคงปฏิเสธไม่ได้ว่า 1 ในความสะดวกใจที่จะมาดูภาพยนตร์ที่ ลิโด สกาล่า (รวมถึงโรงสยาม เมื่อก่อนด้วย) เรื่องหนึ่งก็คือ ราคาค่าชม นี่แหละ ด้วยยุคแรกที่รู้จักกัน ก็คงเป็นยุคที่ค่างวดราว 100 บาทเท่านั้น (ในปัจจุบันราคาปกติเป็น 140 บาท) ผมเองเป็นคนที่อยากชมภาพยนตร์หลายเรื่องมาก ดังนั้นผมจะคิดเสมอว่าถ้าดูด้วยราคาค่างวดย่อมเยาได้ ก็จะได้เก็บส่วนนั้นไปรวมดูเรื่องอื่นได้อีก - - สยาม-ลิโด-สกาล่า ยังมีบัตรสะสมครบ 10 เรื่องดูฟรีไปเลย 1 เรื่อง แถมภายหลังยังรู้เพิ่มว่า รอบเช้า เสาร์-อาทิตย์ ยังเป็นรอบราคาย่อมเยากว่ารอบปกติ (หลังจากนั้นก็มาดูรอบนี้เป็นประจำ - - แน่นอนว่ากรณีที่ภาพยนตร์มีความยาวมาก สกาล่าก็มีการขึ้นค่าตั๋วเหมือนโรงอื่น นี่ตอนไปดู Infinity War มาที่โรงในเครือใหญ่ เขาก็ขึ้นค่าตั๋วเหมือนกัน ควักเป๋าตังค์หยิบเพิ่มแทบไม่ทัน - -) แน่นอนว่าถ้าการเดินทางมาสกาล่า(หรือมาใจกลางเมืองอย่างสยาม)ไม่สะดวกสำหรับหลายคน ลิโด-สยาม-สกาล่า ก็คงไม่ใช่ตัวเลือกต้นๆที่จะมาชมภาพยนตร์ในโรง โดยเฉพาะรอบเช้า เสาร์-อาทิตย์ (ราคาย่อมกว่า) ที่เริ่มราว 9:30-10:00 น. แต่สำหรับผมที่ครั้งหนึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ลำบากมากในการเดินทางมาชม การมาชมภาพยนตร์ที่นี่จึงเป็นสิ่งที่ปกติธรรมดามาก และทำให้ผม 'ติด' การมาชมภาพยนตร์ที่นี่ไปโดยปริยาย
เมื่อจบโครงการ ภาพยนตร์ที่ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ ไป หอภาพยนตร์ฯคงเห็นศักยภาพในการจัดฉายภาพยนตร์ในโครงการนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่มีคนชมล้นโรงก็ตาม (เช่นถ้าจำไม่ผิด ภาพยนตร์อย่าง Goldfinger หรือ Psycho มีคนชมราวๆครึ่งโรง แต่ทั้งสองเรื่องก็เป็นความดีงามในแนวภาพยนตร์ของมันนะ (ก็คงไม่มีใครยกครอบครัวมาดู Psycho ละมัง หรือมี?)) จึงยังมีโครงการนำภาพยนตร์ คลาสสิค มาจัดฉายต่อไปเดือนละเรื่องเหมือนเดิม โดยใช้ชื่อโครงการว่า 'ทึ่ง ! หนังโลก' ตัวผมเองก็ดีใจและยังสนใจจะถ่อไปดู
เข้าใจว่าตัวเองน่าจะได้ดูโปรแกรมภาพยนตร์ที่จัดฉายในปีแรกครบทุกเรื่อง (ไม่แน่ใจเหมือนกัน ต้องไปรื้อตั๋วมาดู - -) อย่างไรก็ดีแม้ความจริงถ้ายังคงสะดวกผมก็ยังอยากจะไปดูภาพยนตร์ทุกเรื่องในโครงการนี้ที่สกาล่า แต่ผมก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้แล้ว ด้วยเหตุผลบางประการผมจึงไม่สามารถเดินทางไปชมภาพยนตร์ที่ ลิโด สกาล่า ได้ทุกอาทิตย์(ถ้าต้องการ)เหมือนเดิม อย่างไรก็ดี ผมยังมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์บางเรื่องในโครงการปีต่อมานี้ ซึ่งยังคงประทับใจกับการไปชมเหมือนเดิม แม้จะได้ชมเพียงเล็กน้อยไม่กี่เรื่องเท่านั้น จนปีต่อมาก็ยังคงมีการจัดฉายต่อ (ก็ดีใจต่อ แต่ก็เสียใจที่ไปชมไม่ได้... - -) จนมาถึงวันที่ผมรู้ว่า โรงภาพยนตร์ ลิโด และ สกาล่า จะหยุดการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2561 นี้ใกล้ๆกับการประกาศฉายภาพยนตร์ในโครงการนี้ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งจัดฉายเรื่อง Snow White ความรู้สึกอึ้งๆ มาพร้อมกับความรู้สึกว่าก็ยังดีที่เป็นช่วงที่ผมสามารถเดินทางไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่สกาล่าได้พอดี
ผมเองเคยดู Snow White มาหลายครั้ง เพราะความจริงเรื่องนี้ฉายก่อนผมเกิดตั้งนานซะอีก จึงเป็นการรับชมจาก 'วิดีโอเทป' ซะหลายครั้ง ครั้งที่ได้ชมตอนเป็นเด็กก็มีความรู้สึกอย่างนึงในวัยที่ดูการ์ตูนอะไรก็สนุก (กว่าทำการบ้านแหงๆ) Snow White ก็เป็นอนิเมชั่น (ที่เมื่อก่อนก็ไม่รู้จักคำนี้ด้วยซ้ำ ก็เรียกว่าการ์ตูนหมด) ที่สนุกสดใสเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ มีคนแคระเจ็ดคน เพลงเพราะ สนุกๆติดหู เมื่อโตขึ้นมาหน่อยได้ดูอีกก็เป็นอีกอย่าง ดูๆไปก็ชักเขิน มีบ้างที่ออกอาการไม่อิน ด้วยรู้สึกว่า Snow White ออกจะเป็น การ์ตูนผู้หญิง (ซึ่งว่าไปก็อาจไม่ผิดนัก เพราะเรื่องราวเล่าทั้งจากมุมของตัว สโนว์ไวท์ และ ราชินี ซะเป็นส่วนใหญ่ เจ้าชายก็แค่ตัวประกอบน่ะครับ ถึงจะสำคัญกับเรื่องก็เถอะ) พอโตมาอีกคราวนี้ด้วยเกิดรู้ถึงคุณค่าของอนิเมชั่นเรื่องนี้ ว่าเป็นความทะเยอทะยานของ วอลต์ ดิสนี่ย์ ที่จะทำอนิเมชั่น(ซึ่งวาดภาพลงสีด้วยมือ)ขนาดยาวเข้าฉายโรงให้จงได้ ความพยายามประดามีนั้นสำเร็จออกมาเป็น Snow White ผมจึงอยากหามาดูอีกครั้งด้วยมุมมมองที่ต่างจากเดิม นอกจากดูสนุกหรือไม่สนุกเท่านั้น
ปรากฎว่า Snow White เป็นอนิเมชั่นเรื่องนึงที่ 'สนุก' ในสายตาผม (ซะงั้น ทีก่อนนี้ทำเขิน คนเราก็เป็นซะแบบนี้) แน่นอนที่ด้านนึงมันยังมีองค์ประกอบแบบ การ์ตูนผู้หญิง ที่ทำให้ผมเขินหรือไม่อินมาก่อนในช่วงวัยหนึ่ง แต่ตอนนี้ก็ไม่ได้ไม่อินอะไร ผมดู Snow White ด้วยความสนุก รู้สึกว่ามันเล่าเรื่องได้สนุก แม้การเล่าเรื่องจะตรงไปตรงมามากกว่าอนิเมชั่นในยุคหลัง แต่มันก็ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยความสดใส มีฉากที่เต็มไปด้วยอารมณ์ และมีฉากที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพลงก็ไพเราะติดหู แถมสิ่งที่จำได้คือ แม้ผ่านกาลเวลามานาน มันก็ยังเป็นการ์ตูนวาดมือที่สวยงาม และมีการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลมาก (แม้จะได้ดูในยุคที่ผ่านตาอนิเมชั่น 2 มิติของดิสนี่ย์อย่าง The Beauty and the Beast, Aladdin, The Lion King หรือ Tarzan เป็นอาทิ มาแล้วก็ตาม) และทำให้ไม่ยากที่ผมจะบอกได้ว่า Snow White เป็นหนึ่งในกลุ่มอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ที่ผมชอบที่สุด แม้หลังจากนั้นผมจะไม่ได้มีโอกาสกลับไปดูบ่อยนักก็ตาม
การได้ไปดู Snow White ในโรงภาพยนตร์อย่างสกาล่า จึงเป็นความรู้สึกพิเศษสำหรับผม อาจจะพิเศษพอๆกับการอยากไปดู The Sound of Music หรือ 2001 : A Space Odyssey ที่สกาล่าเลยทีเดียว แม้ว่าในครั้งนี้ผมจะเดินทางไปชมด้วยความรู้สึกที่ปนเปก็ตาม ผมไปสายกว่าที่ตั้งใจ เวลาฉิวเฉียดการฉายกว่าที่อยาก ครั้งแรกผมเห็นว่าครั้งนี้เปิดขายตั๋วก่อนค่อนข้างนานกว่าปกติ (ซึ่งปกติขายก่อนราว 1 อาทิตย์) ผมจึงคิดเอาเองว่าอาจมีการประเมินว่าอาจมีคนต้องการชมมาก บรรยากาศยังคงคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่มาชมมากกว่าปกติ วันที่ไปมีบางคนไปถ่ายรูปหน้าโรงภาพยนตร์สกาล่า แต่ดูเหมือนไม่ได้มาชมภาพยนตร์ Snow White ด้วย แต่ในโรงครั้งนี้คนก็ไม่ได้เต็มโรงขนาด The Sound of Music หรือ สันติ-วีณา ซึ่งว่าไปก็อาจไม่แปลกนักเพราะแต่เดิมอนิเมชั่นก็ไม่ใช่แนวภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากในบ้านเรา กระทั่งภาพยนตร์อนิเมชั่นชื่อดังจากฮอลลีวูดเองที่ทำรายได้ถล่มทลายในบ้านเกิด ก็ไม่มีเรื่องไหนที่ฝ่าด่าน 100 ล้านบาทได้เลยในไทย ยกเว้น Minions เท่านั้น หรือ Your Name อนิเมชั่นจากญี่ปุ่นที่ทำรายได้ราว 42 ล้านบาท ก็มีสถานะเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่น(ไม่จำกัดว่าแนวไหน)ที่ทำรายได้มากที่สุดในไทยด้วย แม้ว่าจะมีหลายคนที่ดูจะไม่รู้ว่ามีการจัดฉาย Snow White ที่สกาล่าบ่นเสียดายว่าไม่รู้มาก่อน และเสียดายที่ไม่ได้ไปดูบ้างประปรายก็ตาม
ในครั้งนี้แม้จะจดจ่อกับการชมก็จริง แต่ผมก็รู้สึกไม่มีสมาธิมากนัก (โดยมีเสียงโยเยจากเด็กน้อยบางคนประกอบบ้าง ,มีผู้ปกครองที่ต้องอุ้มเด็กน้อยออกจากโรงภาพยนตร์ก่อนบ้าง แต่ไม่มีผลกับการชมของผมมากนัก) อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วผมก็ดู Snow White ด้วยความประทับใจและสนุกสนาน
ผมยังทึ่งกับการวางเรื่องเล่าที่แม้จะไม่ซับซ้อนอย่างที่ว่าแต่ก็เล่าได้สนุก นอกจากจะเห็นความลื่นไหลสวยงามของอนิเมชั่นวาดมือแล้ว คราวนี้ผมยังรู้สึกว่าเป็นความฉกาจฉกรรจ์ของดิสนี่ย์ที่เล่าเรื่องออกมาแบบนี้ จริงอยู่ที่ดิสนี่ย์วาดภาพสโนว์ไวท์ออกมาเป็นหญิงสาวผู้มีความร่าเริง อ่อนหวาน รักสัตว์ (และก็คงจะรักเด็กด้วย) แต่ก็เป็นสาวน้อยอ่อนแอ ถ้าเล่าในเพียงมุมของสโนว์ไวท์ ผมก็อาจจะไม่สามารถสนุกไปกับอนิเมชั่นเรื่องนี้ได้ทั้งหมด หรือสนุกไปทั้งเรื่อง แต่ความจริงแล้วการเล่าเรื่องกลับเทน้ำหนักไปที่อีกด้านหนึ่งมากเหมือนกัน คือ ส่วนของคนแคระทั้ง7 ซึ่งมีบทบาทเด่นและปรากฎบนจอราวกับเป็นอีกตัวเด่นของเรื่อง โดยมีการวางบุคลิกของแต่ละคนให้มีความโดดเด่นของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นการเพิ่มรายละเอียดและมิติของเรื่องเล่าให้กับเรื่องราวที่ดำเนินไปได้อย่างสนุกสนาน (แม้ว่าเมื่อเทียบกับเรื่องเล่าต้นฉบับ เรื่องราวของสโนว์ไวท์จะ มืด กว่านี้มาก และไม่สวยหวานอย่างที่เห็นในเวอชั่นดิสนี่ย์เลยก็ตาม) เมื่อประกอบกับการปรากฏตัวในฉากขุดเหมืองและเพลงประกอบสนุกติดหูอย่าง Heigh-Ho! แล้ว ก็ไม่ยากที่คนแคระทั้ง7 จะกลายมาเป็นตัวเด่นและส่วนสำคัญในการดำเนินเรื่องอย่างที่ชื่อเรื่องว่าไว้อย่างมีชีวิตชีวา
ทั้งแม้อาจดูไม่เหมาะนักที่จะดู คนแคระทั้ง7 เหมือนเป็นแค่ลูกคู่ตัวรอง (Sidekicks) ในอนิเมชั่นเรื่องนี้ เพราะดูๆไปบทบาทของทั้ง7 บนจอ เผลอๆก็มากพอๆกับสโนว์ไวท์ แต่นี่ก็อาจนับว่าเป็นเหมือนต้นแบบของอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ที่มีเรื่องราวสนุกสดใส เพลงประกอบเพราะๆ และมีลูกคู่ตัวรองที่โดดเด่นคอยสร้างความสนุกสนานแย่งซีนเคียงคู่บรรดาตัวเอก (แม้เรื่องนี้ถ้านับแบบนั้นจะมีมากมายถึง 7 คนก็ตาม) อย่าง ทีโมน พุมบ้า อีอาโก้ ใน The Lion King เซบาสเตียน ใน The Little Mermaid หรือ เจ้าอาบู หรือพรมวิเศษ (นี่ดูเป็นบรรพบุรุษของผ้าคลุมใน Doctor Strange ชอบกล - แต่อยู่ค่ายเดียวกันแล้ว ไม่เป็นไร) ใน Aladdin เป็นต้น
จริงอยู่ว่าการเล่าเรื่องใน Snow White เวอชั่นนี้เน้นความสนุกสนาน และสดใส โดยมีซีนน่ากลัวคั่นบ้างเป็นระยะ แต่ทั้งหมดก็ถูกนำเสนออกมาโดยมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย ทั้งการกำหนดบุคลิกให้แต่ละตัวละคร กำหนดสถานการณ์วางมุข แถมยังต้องสอดคล้องไปกับบทเพลงและการเล่าเรื่อง รายละเอียดหลายอย่างทั้งลายเส้นและการเคลื่อนไหวล้วนถูกนำเสนออย่างละเอียดละออ แค่ดูเอาจากส่วนที่มีเพลงประกอบอย่าง เช่น Whistle While You Work ในฉากทำความสะอาดบ้าน หรือ Heigh-Ho! ในฉากขุดเหมืองนี่ก็เรียกได้ว่าเป็นตำราอนิเมชั่นได้แล้ว ฉากทั้งหมดเต็มไปด้วยรายละเอียดของการเคลื่อนไหวของหลายตัวละครในฉาก ทั้งตัวสโนว์ไวท์เอง บรรดาสิงสาราสัตว์ หรือบรรดาคนแคระ และการเล่าเรื่องที่มีจุดเล็กจุดน้อยเป็นสีสัน ทั้งยังอยู่ในจังหวะของเพลงประกอบ เมื่อดูในวันนี้ (ด้วยยังไงในที่นี้ก็มีการพินิจมากกว่าเดิม) ผมจึงยิ่งรู้สึกว่ามันน่าประทับใจมาก
ไม่นับว่าฉากอื่นๆแม้จะไม่ได้มีรายละเอียดของตัวละครในฉากมากมายเท่า แต่มันก็เต็มไปด้วยการคิดคำนวนในการนำเสนอและการเล่า ซึ่งช่วยเสริมอารมณ์ในเรื่องราวที่เราสัมผัสได้อย่างดี ทั้งนอกจากความทะเยอทะยานที่จะทำอนิเมชั่นสีขนาดยาวเข้าสู่โรงภาพยนตร์แล้ว มันยังเต็มไปด้วยเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่บางทีผมก็ไม่ได้สังเกต เช่น การเริ่มเล่าเรื่องด้วยเรื่องราวที่ฉายเข้าไปในหนังสือที่ดูประณีตมาก ฉากมองลงไปในบ่อในช่วงเริ่มๆของเรื่อง หรือจะเป็นฉากกระจกวิเศษเองก็ตาม กระทั่งฉากการเตรียมการของราชินีก็ยังมีการเล่าด้วยภาพที่น่าประทับใจ
แม้เจ้าหญิง สโนว์ไวท์ อาจไม่ใช่ตัวละครโปรดของผมอย่าง อาละดิน หรือ ซิมบ้า และคนแคระทั้ง 7 อาจไม่กวนตรีนและมีลูกบ้าได้เท่า จินี่ แต่ภาพยนตร์ Snow White ก็ยังคงเป็นหนึ่งในอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ที่ผมชอบ (และอาจด้วยความชื่นชม) เป็นอันดับต้นๆของดิสนี่ย์
ผลลัพธ์ทั้งหมดที่ปรากฎในอนิเมชั่นเรื่องนี้เป็นผลงานที่คุ้มค่า ตามที่ วอลต์ ดิสนี่ย์ กล่าวถึงความตั้งใจของทั้งตัวเขาเอง และความตั้งใจ ตรากตรำ ของทีมงาน ในการทำ Snow White ให้สำเร็จออกมา ดังที่เขาขึ้นคำกล่าวขอบคุณทีมงานไว้ตอนต้นเรื่องของ Snow White (นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่ผมเพิ่งสังเกตเห็น - -) และแม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะชมชอบแนวทางของดิสนี่ย์ แต่มันก็ได้กลายไปเป็นหมุดหมายสำคัญของทั้งดิสนี่ย์เอง สำหรับการก้าวไปเป็นจ้าวแห่งอนิเมชั่น 2 มิติต่อมาในเวลายาวนาน บ่มเพาะรากฐานและมาตรฐานต่างๆที่ล้วนมีคนอยากไปให้ถึงและก้าวผ่านไปให้ได้ เป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับโลกอนิเมชั่น และโลกภาพยนตร์ สโนว์ไวท์เองก็กลายไปเป็นหนึ่งในไอคอนตลอดกาลของบรรดา เจ้าหญิง แห่งดิสนี่ย์ สืบสานมายัง เจ้าหญิง แห่งอนิเมชั่นยุคใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างของดิสนี่ย์เองอย่างใน Frozen หรือ Moana รวมถึงส่งอิทธิพลไปยังวัฒนธรรมอื่นๆต่อมาอีกมากมาย กระทั่งเราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าถ้าไม่มี อนิเมชั่นดิสนี่ย์ ไม่มี Snow White เราคงไม่มีอนิเมชั่นล้อเลียนโค-ตะ-ระสนุก อย่าง Sherk (2ภาคแรก - ที่เหมือนเอาโลกของดิสนี่ย์คลาสสิคมากลับหัวกลับหาง) เงาของ Snow White ที่เกิดจากความมุ่งมั่นทะเยอะทะยานของ วอลต์ ดิสนี่ย์ ยังทอดยาวไปไกลกว่ากระทั่ง วอลต์ ดิสนี่ย์ จะคาดคิด (แม้ผมเดาว่า วอลต์ ดิสนี่ย์ คงรับไว้ด้วยความหน้าชื่นตาบาน (แน่นอนผมไม่อาจรู้ได้ว่าเขาจะคิดอย่างไรกับ Shrek ) และอาจพูดแค่ว่า "ผมคิดไว้อยู่แล้ว" ก็เป็นได้)
รายละเอียดมากมายที่ได้ชมผ่านอนิเมชั่นเรื่องนี้คงไม่สามารถนำมาบอกเล่าได้หมดในที่นี้ (ไม่นับว่าหลายอย่างผมก็ไม่ได้สังเกตได้ทั้งหมดในครั้งแรกๆที่ได้ดูด้วย - - แล้วจริงๆ...จะเรื่องไหนก็ไม่หมดเหมือนกันแหละ...) แต่ ณ การรับชมในเวลานี้ ในวันนั้นที่สกาล่าซึ่งผมประทับใจตั้งแต่ ม่านค่อยๆเลื่อนเปิดออกพร้อมภาพคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยเริ่มฉาย ต่อด้วยวิดีโอแสดงภาพยนตร์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติจากหอภาพยนตร์ฯ (แม้ไม่เกี่ยวกับ Snow White โดยตรง แต่มันเป็นการนำเข้าการฉายที่ให้ความรู้สึก เอพิก อย่างบอกไม่ถูก) และขณะที่ภาพของอนิเมชั่น Snow White and the Seven Dwarfs เริ่มปรากฎบนจอพร้อมเสียงเพลงประกอบค่อยๆดังขึ้น ตลอดการฉายจนจบลง เป็นความประทับใจสำหรับผม และเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ผมดีใจที่ได้มีโอกาสรับชมในโรงภาพยนตร์สกาล่า นับว่า Snow White and the Seven Dwarfs เป็นความทะเยอทะยาน เป็นความฝันของ วอลต์ ดิสนี่ย์ ที่หลายคนเองก็กังวล กังขา กระทั่งอาจไม่เชื่อถือ ว่ามันจะสำเร็จออกมาอย่างงดงามได้ กลายเป็นผลงานยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องนึงของฮอลลีวูด ทำรายได้มากเกินใครส่วนใหญ่ในตอนนั้นจะคาดคิด แม้ผมจะเพียงได้ยินเรื่องเล่าถึงความพิเศษและยิ่งใหญ่ของ Snow White จากการอ่านการฟังมาโดยไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับเรื่องที่ถูกเล่าเหล่านั้นจริงๆ มันเป็นเรื่องราวก่อนยุคสมัยที่ผมได้รับรู้ทั้งสถานที่และเวลา แต่ผมก็รู้สึกว่า แม้จะด้วยเป็นมาจากจินตนาการของผมเป็นส่วนใหญ่ การรับชม Snow White and the Seven Dwarfs ที่สกาล่า ก่อนเดินเข้าไปยังโรงภาพยนตร์ได้เห็นป้ายที่ยังใช้ตัวอักษรเรียงกันแบบโรงสมัยเก่า ผ่านไปยังป้ายดิจิทัลที่เปลี่ยนใหม่มาได้ราว 2-3 ปี ขึ้นบันไดราวจับไม้อันคุ้นเคย ผ่านโคมไฟระย้าอันเก่าที่ยังคงดูหรูหรา ไปบนพื้นที่หน้าโรงฉาย ที่มีป้ายประดับจากเรื่องนี้เข้ากับบรรยากาศ พร้อมป้ายบรรยายคำเตรียมอำลาจากสกาล่า...
การเห็นผู้คนคลาคล่ำ และเจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์ที่มาพร้อมของประชาสัมพันธ์ หนังสือ นิตยสาร และดีวีดี ภาพยนตร์ไทยคลาสสิคให้ได้ถามไถ่ซื้อหากัน ก็พอจะปลอบใจอาการใจหายและเสียดายได้บ้าง ก่อนแสดงตั๋วแก่เจ้าหน้าที่ในสูทชุดเหลืองที่เคยคุ้นทั้งชุดและคุ้นหน้าค่าตากัน บรรยากาศในโรงภาพยนตร์ที่แม้จะผ่านกาลเวลามา แม้จะด้วยระบบฉายที่เปลี่ยนเป็นดิจิทัล และจอภาพที่เปลี่ยนใหม่มาไม่นาน แม้อาจยังดูไม่สว่างใสเท่าจอในโรงเครือใหญ่หลายค่าย (ผมไม่เชี่ยวชาญเรื่องนี้นัก แม้เคยได้ยินได้อ่านมาจากหลายคน เพราะไม่ค่อยได้ดูเรื่องเดียวกันเปรียบเทียบกับโรงอื่น แต่จริงๆเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับผมเท่าไหร่ในการชมภาพยนตร์ ผมไม่ค่อยรู้สึกอะไรตอนชมที่สกาล่าหรือลิโด ส่วนสยามบอกตรงๆว่าผมจำไม่ค่อยได้แล้วครับ - - และถ้าดูแล้วถูกใจยังไงก็ไม่หลับ แต่ถ้าไม่ถูกใจยังไงก็มีสัปหงก - -) เมื่ออยู่ในบรรยากาศภายในโรงสกาล่า จินตนาการที่อาจไม่เกิดขึ้นถ้าผมได้ดูในโรงอื่น ก็ยังเติมบรรยากาศให้คิดไปเองว่าได้สัมผัสกับเสี้ยวบรรยากาศของความพิเศษยามเมื่อ Snow White ปรากฎบนจอมอบความตื่นตาให้ผู้คนในยุคสมัยนั้นได้อย่างวิเศษ...
เสียดายก็แต่ความรู้สึกวุ่นวายใจกว่าที่คิดทั้งก่อนเริ่มชม และหลังชม เท่านั้น แม้คนจะไม่มากเท่าครั้งจัดฉาย The Sound of Music แต่หลังออกจากโรงภาพยนตร์ ผมก็ยังได้พบภาพคนหลากหลายวัยเข้าคิวถ่ายรูปกับป้ายประดับ ตั้งแต่คุณย่าคุณยาย คุณแม่ คุณพี่คุณน้องวัยรุ่น คุณๆที่มาเป็นคู่ กระทั่งคุณหนูสโนว์ไวท์ตัวน้อย ที่แต่ง cosplay แบบเป๊ะมาชมพร้อมคุณพ่อคุณแม่ถ่ายรูปกับป้ายด้วยรอยยิ้ม ผมเองก็ถ่ายรูปติดมาบ้าง อ้อยอิ่งอยู่ซักพัก หลังซื้อข้าวโพดคั่วรสเค็มธรรมดา (ที่ราคาไม่แรงเท่าโรงใหญ่) กล่องเล็กราคา 20 บาท (กล่องใหญ่ 40 แต่มาคนเดียว กลัวจะกินไม่หมด - -) ผมก็เดินลงบันไดเพื่อออกจากโรง ผ่านด้านล่างที่ตั้งของภัตตาคารสกาล่า ที่มีเมนูชื่อดังเป็นเป็ดปักกิ่ง ไปยังจุดหมายต่อไปของวันนั้น โดยยังอดเหลือบไปมองโคมไฟใหญ่ของสกาล่าโคมนั้นไม่ได้...
ผมไม่มีคะแนนให้ Snow White and the Seven Dwarfs ในที่นี้ (แต่เท่าที่พิมพ์มา คงแน่ว่าผมจะให้คะแนนสูงแน่นอน - -) และสำหรับการรับชม Snow White and the Seven Dwarfs ในโรงภาพยนตร์สกาล่าครั้งนี้ ผมยิ่งไม่รู้จะให้คะแนนยังไง แต่นี่ก็เป็นการมาชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่งในโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งที่ตั้งใจมา ที่ผมยังคงได้ความอิ่มเอมกลับไป และเมื่อคิดถึงว่ามันมีความเสียดายและอาลัยปนอยู่ด้วย
นี่คงเป็นประสบการณ์ที่ยากจะหาในการชมภาพยนตร์ซักเรื่องได้จริงๆ...
ภาพยนตร์เรื่อง Snow White and the Seven Dwarfs ไม่ใช่ภาพยนตร์ในโครงการ ทึ่ง ! หนังโลก เรื่องสุดท้ายที่จะฉายที่สกาล่า ถ้าสกาล่าต้องปิดตัวลงจากการฉายภาพยนตร์ในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ คือ ในเดือนพฤษภาคม ยังมีจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง Apocalypse Now ซึ่งจริงๆถ้ายังอยู่ในวิสัยที่เดินทางไปชมได้ ผมก็คงยังจะซื้อตั๋วเข้าไปชมเรื่องนี้ที่สกาล่าเช่นเดิม แม้จะเคยชมภาพยนตร์เรื่องนี้ (น่าจะดีวีดี) มาแล้ว
ภาพยนตร์เล่าเรื่องช่วงสงครามเวียดนาม เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องมากเรื่องนึงของ ผู้กำกับ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา (The Godfather : part I,II,III ,The Conversation ,Bram Stoker's Dracula ฯลฯ) แม้บรรยากาศการชมคงจะแตกต่างจากบรรยากาศสนุกสดใสของ Snow White and the Seven Dwarfs ชนิดเป็นคนละเรื่อง แต่ชื่อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็กลับดูเข้ากับการชมอำลาสำหรับโอกาสพิเศษที่บางคนอาจเข้าไปชมเพราะสนใจตัวภาพยนตร์พร้อมรำลึกสกาล่าอย่างประหลาด...
การจัดฉาย Apocalypse Now จะมีขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2561 วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ซึ่งคงเปิดขายตั๋วล่วงหน้าที่ส่วนขายตั๋วของโรงภาพยนตร์สกาล่าล่วงหน้ามาแล้วราว เกือบ 1 อาทิตย์
แม้ผมจะไม่ได้ไปชม ก็หวังว่าคนที่ไปชมคงได้รับประสบการณ์บางอย่างกลับมา ไม่มากก็น้อย...
ไม่ใช่แค่ว่าผมอยากชม Snow White ในโรงภาพยนตร์ซักที (Snow White ฉายครั้งแรกในอเมริกาปี ค.ศ.1937 (พ.ศ.2480) และฉายในไทยที่โรงภาพยนตร์ฮอลลีวูด ถ.เพชรบุรี (ไม่ใช่เมเจอร์ฮอลลีวูดนะ) แต่ผมหาข้อมูลปีฉายในไทยไม่ได้) เท่านั้น แต่เป็นเพราะผมรู้มาว่า สกาล่าและลิโด จะยุติการดำเนินการโรงภาพยนตร์ในสิ้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 ที่จะถึงนี้...
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การจัดฉายเรื่อง สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ถ่ายที่ลิโด |
ผมไม่ค่อยได้เข้าชมภาพยนตร์ในโรงสกาล่าบ่อยนักในช่วงหลัง แต่ก็ตั้งใจแรงกล้าที่จะมาดูส่วนหนึ่งก็เพื่อ 'รำลึก' ถึงโรงภาพยนตร์แห่งนี้ แห่งที่แม้ผมจะไม่ได้โตมาตั้งแต่ที่นี่เริ่มสร้าง ไม่แม้กระทั่งรู้จักโรงภาพยนตร์แห่งนี้ในยุครุ่งเรือง แต่ที่นี่ก็เป็นที่ที่ผมเดินเข้ามาเพื่อชมภาพยนตร์ เป็นกระทั่งกิจวัตรในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่ผมจะไม่สามารถเดินเข้ามายังที่แห่งนี้ ขึ้นบันได ผ่านโคมระย้าใหญ่โต เพื่อเดินเข้าไปซื้อตั๋ว เข้าชมภาพยนตร์ในที่แห่งนี้ได้อีก อย่างที่มันเคยเป็น...
การฉายภาพยนตร์ในโครงการนี้ ต่อเนื่องมาจากนำเอาภาพยนตร์ที่จัดว่า คลาสสิค หลายเรื่องมาฉาย ในโครงการ ภาพยนตร์ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ น่าจะนับว่ามีเหตุมาจากการจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง สันติ-วีณา หลังจากมีการค้นพบฟิล์มภาพยนตร์ของเรื่องนี้ในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสำคัญประการหนึ่งในการเป็นภาพยนตร์สีฟิล์ม 35 ม.ม.เรื่องแรกของไทย และได้มีการบูรณะภาพยนตร์เรื่องนี้จากฟิล์มที่ค้นพบ หลังได้รับการบูรณะ ภาพยนตร์เรื่อง สันติ-วีณา ได้เข้าฉายในเซกชั่น "คานส์ คลาสสิค" ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ก่อนมีการจัดฉายรอบพิเศษในไทยขึ้นที่โรงภาพยนตร์สกาล่า ครั้งนั้นนับเป็นครั้งหนึ่งที่คนชมภาพยนตร์เต็มโรงสกาล่าในระยะหลังมานี้ทีเดียว การจัดฉายมีขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2559 เมื่อราวเกือบ 2 ปีก่อน ช่วงก่อนหน้าในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตไม่กี่เดือน... นี้เอง
แทนที่จะปล่อยให้อีเว้นท์นี้ผ่านเลยไป ดูเหมือนหอภาพยนตร์จะเล็งเห็นถึงศักยภาพ ได้ความคิดอันยอดเยี่ยมที่จะจัดฉายภาพยนตร์คลาสสิคอื่นๆให้เข้าตีมกับการจัดฉายภาพยนตร์ สันติ-วีณา นั่นคือการจัดฉายภาพยนตร์ที่ในหลวงรัชกาลที่9 เคยเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ โดยจัดฉายเดือนละเรื่อง ราวๆอาทิตย์ที่1 หรือ2 ของแต่ละเดือนในรอบเที่ยงวันอาทิตย์ โดยเปิดขายตั๋วล่วงหน้า 1 อาทิตย์ และผมคิดว่านี่เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมจริงๆ นอกจากจะเพิ่มเติมแง่มุมที่เราได้ทำความรู้จักกับในหลวงรัชกาลที่9 ในช่วงเวลานั้นแล้ว ในแง่หนึ่งหลายๆองค์ประกอบนั้นผมคิดว่ามันช่างเหมาะสมกับการจัดฉายที่โรงภาพยนตร์สกาล่าอย่างยิ่ง จริงอยู่ว่าอาจมีข้อติติงจากคนที่คุ้นกับระบบโรงภาพยนตร์สมัยใหม่ ซึ่งใหม่กว่าสมัยที่สกาล่าเกิดขึ้นมา ที่จอดรถอาจไม่สะดวกสบายเท่าในห้างที่จอดแล้วเดินหลบลมฝนดินฟ้าอากาศเข้ามาได้เลย แต่ก็อาจต้องแลกกับการวนจอด 18 รอบ ด้วยเวลาที่เหลือเชื่อว่าจะนานได้ขนาดนั้น แต่ที่ตั้งของสกาล่าซึ่งอยู่บริเวณสยาม และสกาล่าเองก็น่าจะนับเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่ค่อยๆช่วยผลักดันให้สยามเติบโตขึ้นเป็นทำเลทองกลางเมืองในยุคก่อนหน้า แม้ว่าปัจจุบันมันจะอ่อนแสงลงไปมากแล้วและมีองค์ประกอบอื่นที่ดึงดูดผู้คนหลากหลายวัยเข้าสู่อณาเขตนั้นก็ตาม ในเมื่อที่ตั้งของสกาล่าอยู่ที่สยามมันก็ยังถือเป็นบริเวณที่เข้าถึงได้ค่อนข้างสะดวก (ถือว่ารถ(สาธารณะ)ติดก็ยังเดินเอาได้(วะ) ผมเองในบางครั้งก็ทำแบบนั้นนะ - - และแม้ว่าบางคนจะไม่ชอบเดินทางเข้าเมืองเลยก็ตาม) และอีกทางหนึ่งที่จอดรถบนห้างก็ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งในการเข้าถึงสกาล่า และสกาล่าก็เป็นโรงภาพยนตร์หนึ่งที่รองรับผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก
นอกจากความรุ่งเรื่องในอดีตแล้ว บรรยากาศของสกาล่าที่อยู่ผ่านกาลเวลามาก็ทำให้โปรแกรมการจัดฉายนี้ยิ่งให้ความรู้สึกพิเศษ (ไม่สำหรับใครก็สำหรับผมนี่แหละ) เมื่ออยู่ในพื้นที่แห่งนี้ แน่นอนว่าในด้านหนึ่งการจัดฉายภาพยนตร์คลาสสิค จากยุคเก่า มาฉายที่นี่ เมื่อเดินเข้ามาในสยามผ่านพื้นที่ที่จะเดินไปยังส่วนขายตั๋วและเข้าสู่ห้องฉาย สิ่งที่เราจะได้สัมผัสก็คือสถาปัตยกรรมอันอยู่คู่กับโรงภาพยนตร์ Stand Alone แห่งสุดท้ายของกรุงเทพ (ผมไม่แน่ใจพอจะกล้าเคลมว่าแห่งสุดท้ายของประเทศไทยนะครับ แต่อย่างไรก็ตามสกาล่าก็น่าจะนับเป็น โรง Stand Alone ที่น่าจะโดดเด่นที่สุดแห่งสุดท้ายที่ยังดำเนินการอยู่ในประเทศไทย) แม้อาจดูไม่เรืองรองอย่างในอดีตด้วยสภาพที่เปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย ไม่ใช่แค่โคมไฟใหญ่ หลายสิ่งหลายอย่างยังคงสะท้อนลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมที่ให้ความรู้สึกหรูหราจากสมัยนั้นให้ปรากฎกับสายตาของคนที่เข้ามาชมภาพยนตร์ในโรงแห่งนี้อยู่ แม้อาจจะเป็นบรรยากาศพื้นหลังสำหรับคนที่เข้าไปชมภาพยนตร์ในโรงก็ตาม ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องรื่นรมย์ไม่น้อยเมื่อคิดว่ามันอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างยุคใหม่อย่างสยาม
ไม่ใช่แค่สถาปัตยกรรมภายนอกเท่านั้น อีกสิ่งหนึ่งที่เมื่อก่อนผมก็ไม่ได้รู้สึกนัก แต่ตอนหลังๆถึงรู้สึกชัดขึ้น (หลังจากตระเวณชมภาพยนตร์ในโรงโน้นนี้มากมาย) ก็คือ พื้นที่ห้องฉายภาพยนตร์ แม้ว่าต้องยอมรับว่าพื้นที่ภายในห้องฉายของสกาล่าไม่ได้สวยใสใหม่เท่าโรงภาพยนตร์สมัยใหม่อื่นๆ ระบบเสียงก็อาจไม่สมบูรณ์เท่าโรงระบบใหม่ๆ ทั้งยังมีกลิ่นของบรรยากาศที่ผ่านกาลเวลามา แต่สิ่งที่ผมรู้สึกเมื่อมาชมภาพยนตร์ในโรงสกาล่า คือ ความโอ่อ่าของมัน สิ่งที่ผมชอบมากมีอยู่ 2 อย่าง คือ บรรยากาศที่ม่านขนาดใหญ่ค่อยๆเลื่อนเปิด และขนาดของโรงและจอสกาล่า มันให้ความรู้สึกแกรนด์อย่างบอกไม่ถูก มีบางเหตุผลที่ทำให้ในระยะหลังๆผมได้เข้าชมภาพยนตร์ที่โรงลิโดบ่อยกว่าสกาล่ามาก แต่เมื่อกลับมาชม โดยเฉพาะเมื่อชมภาพยนตร์ที่มีความรู้สึกใหญ่โตหรือโอ่อ่าในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง ผมจะรู้สึกเสมอว่ามันรู้สึกดีมากที่ได้ดูในโรงสกาล่า ยังกับว่าบรรยากาศของโรงช่วยเสริมส่งให้การชมภาพยนตร์มีบรรยากาศของความโอ่อ่ากว้างขวางบางอย่างประกอบกับตัวภาพยนตร์ แน่ล่ะครับว่าไม่ใช่ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ผมเอนจอยหรือรู้สึกยิ่งใหญ่ เช่น ผมเคยสัปหงกตอนชมเรื่อง Jane got a Gun ที่สกาล่านี่แหละ (โรงอื่นก็เคยสัปหงกนะ ไม่ใช่ไม่เคย) - - ซึ่งแม้ผมจะตื่นมองจอเมื่อ นาตาลี พอร์ตแมน (ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่มาชม หลังจากรู้สึกว่าไม่ได้เห็นเธอบนจอภาพยนตร์มาซักระยะ) ปรากฎตัวบนจอเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม และแน่นอนว่าจอสกาล่าที่แม้จะใหญ่กว่าโรงทั่วไป ก็ยังไม่อาจใหญ่ได้เท่าจอ IMAX ซึ่งจอขนาดใหญ่ที่สุดในระบบ IMAX อยู่ที่ Siam Paragon (ใกล้ๆนี่เอง) ระบบเสียงก็ไม่อาจอลังการได้ขนาดนั้น หรือไม่มีระบบฉาย 3 มิติ (แว่น) แต่สำหรับผมแล้วสกาล่าก็ 'ดีมากพอ' ที่จะทำให้ผมรู้สึก 'อิ่ม' ในการชมภาพยนตร์ในบรรยากาศของสกาล่า โดยเฉพาะเมื่อมันมีบรรยากาศที่เป็น สกาล่า ซึ่งไม่อาจหาได้จากที่ไหนอีก
และยิ่งรู้สึกชัดเมื่อผมได้ชมภาพยนตร์หลายๆเรื่องในโครงการนี้ ภาพยนตร์ที่ถูกเลือกมาฉายหลัง สันติ-วีณา ล้วนเป็นภาพยนตร์คลาสสิค ที่ถือว่า 'โด่งดัง' ในแง่ใดแง่หนึ่ง และในสมัยอันรุ่งเรืองโออ่าของฮอลลีวู้ด โปรดักชั่นของภาพยนตร์หลายเรื่องที่ในสมัยนี้อาจไม่สามารถทำได้หรือไม่มีใครทำแล้ว เมื่อมาปรากฏบนจอภายในโรงภาพยนตร์สกาล่า มันให้ความรู้สึกพิเศษแก่ผมจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นแค่ความผูกพันหรือการคิดไปเอง มันก็เป็นความรู้สึกที่ผมคิดว่าไม่อาจหาได้จากที่ไหน บรรยากาศของภาพยนตร์หลายเรื่องในโครงการนี้ยังนำบรรยากาศพิเศษๆกลับมาสู่โรงภาพยนตร์สกาล่า อย่าง บรรยากาศของการฉายภาพยนตร์ The Sound of Music ที่ถูกเลือกฉายหลัง สันติ-วีณา เป็นภาพที่คนเต็มโรงภาพยนตร์ โดยมีผู้ชมจากหลากหลายรุ่น คงจะมากที่สุดเท่าที่เคยชมภาพยนตร์ในโรง มารวมตัวกันอยู่ในโรงภาพยนตร์นั้น ตั้งแต่ หลานๆไปถึงคุณพ่อคุณแม่คุณย่าคุณยายคุณปู่คุณตา แน่นอนว่าปกติผมไม่ชอบบรรยากาศของความเจี๊ยวจ๊าวในโรงภาพยนตร์ แม้จะเล็กน้อยก็ตาม (เงียบๆ บรรยากาศจะแกรนด์มาก - -) แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้าง และนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผมไม่รู้สึกขัดตาขัดใจเมื่อมีเสียงร้องเพลงคลอไปกับเสียงขับขานจากภาพยนตร์จากทั้งคุณหลาน ทั้งคุณย่าคุณยาย (อาจมีเสียงร้องโยเยบ้างก็ได้ แต่ผมก็จำไม่ได้ว่าได้ยินหรือไม่? - - และใครจะไม่ชอบบรรยากาศอย่างนี้ก็คงไปว่าเขาไม่ได้ สมมติถ้าเกิดเป็นการชม Alien ล่ะก็ผมอาจจะรำคาญด้วยก็ได้ (ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะรำคาญถ้าเขาไปร้อง โด-อะ-เดียร์... ตอนชมนะ) - - ว่าไปก็อยากดูเลยเนี่ย...) แน่นอนว่าส่วนหนึ่งอาจเพราะผมเคยชม The Sound of Music มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในการชมครั้งนั้น มันก็ช่วยให้การชมเป็นครั้งหนึ่งที่เติมบรรยากาศพิเศษให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างที่คงไม่มีครั้งไหนจะเหมือนอีกแล้ว แม้ว่าสมมติจะมีการฉายเรื่องนี้ด้วยฟิล์ม 70 มม. บนจอ IMAX ณ พารากอน ผมก็คงอยากไปดูอยู่นั่นเอง และก็คิดว่าน่าจะมีคนหลากรุ่นไปชมกันเต็มโรงเหมือนเดิม (แต่ผู้หลักผู้ใหญ่คงต้องระวังสโลปของโรง IMAX มากกว่าด้วยนะ เดินขึ้นไปที่นั่งนี่ สะดุดทีมีหนาว แถมเอาเข้าจริงแม้จอจะอลังการได้ใจมาก แต่มันเป็นโรงที่นั่งไม่สบายที่สุดโรงหนึ่งเพราะระยะห่างระหว่างแถวมันช่างแคบเหลือใจ ผมเคยโดนล๊อกขาจากผู้ชมตัวใหญ่แถวหน้าตลอดการชมเรื่อง Interstellar มัง? ถ้าจำไม่ผิด แม้บางเรื่องจะไม่ขนาดนี้ก็ตาม ซึ่งแม้จะคิดว่าก็คุ้มที่ได้ดูบน IMAX แต่ก็นั่นแหละ...มันก็มีสิ่งที่ต้องแลกเหมือนกัน - - รวมทั้งราคาด้วย...) แม้จะคิดว่า ทั้งภาพ ทั้งระบบเสียงที่ได้ คงจะเป็นประสบการณ์ที่เยี่ยมมาก (และคิดว่าจะมีเสียงร้องคลอจากคนหลากรุ่นเหมือนเดิม) แต่มันก็จะไม่มีบรรยากาศของยุคสมัย (แม้ผมจะคิดเอาเอง) ซึ่งต้องเน้นว่าเป็นบรรยากาศโอ่อ่าจากยุคสมัยนั้นที่ได้จากสกาล่าประกอบเป็นพื้นหลังในการเดินเข้าไปชมเช่นกัน... และอย่างไรก็ดี ในการชมภาพยนตร์บางเรื่องในยุคหลังแม้จะเป็นภาพยนตร์ใหม่ๆ ถ้าเป็นเรื่องที่ผมรู้สึกว่าถ้ามีบรรยากาศโอ่อ่าประกอบ มันคงจะเสริมรสได้ดีมาก ผมก็จะยังคิดถึงการไปชมเรื่องนั้นๆที่สกาล่า (ถ้ามันได้ฉายที่สกาล่านะ) อยู่เสมอ
ก่อนฉาย Snow White and the Seven Dwarfs |
ผมจึงรู้สึกขอบคุณหอภาพยนตร์มากที่จัดโครงการนี้ขึ้นและนำมาฉายที่สกาล่า โดยเฉพาะในปีแรกของโครงการ ซึ่งเป็นโครงการ ภาพยนตร์ที่ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ถูกเลือกมาฉายล้วนเป็นภาพยนตร์ที่มีดีกรีระดับ 'ยักษ์ใหญ่' ในโลกภาพยนตร์ (แม้จะเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู๊ดทั้งหมดก็ตาม) ซึ่งหลายเรื่องผมได้ชมเป็นครั้งแรกที่สกาล่าในโครงการนี้นี่เอง ความประทับใจของแต่ละเรื่องคงได้มีการกล่าวถึงบ้างในโอกาสต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาค่างวดในการรับชมตั๋วธรรมดาก็มีราคาเพียง 100 บาท ซึ่งผมคิดว่าก็คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่หลายคนสามารถมาชมทั้งครอบครัวได้อย่างไม่ลำบากนัก (พร้อมมีตั๋วพิมพ์สีสวยงามไปเป็นที่ระลึก) ผมคงปฏิเสธไม่ได้ว่า 1 ในความสะดวกใจที่จะมาดูภาพยนตร์ที่ ลิโด สกาล่า (รวมถึงโรงสยาม เมื่อก่อนด้วย) เรื่องหนึ่งก็คือ ราคาค่าชม นี่แหละ ด้วยยุคแรกที่รู้จักกัน ก็คงเป็นยุคที่ค่างวดราว 100 บาทเท่านั้น (ในปัจจุบันราคาปกติเป็น 140 บาท) ผมเองเป็นคนที่อยากชมภาพยนตร์หลายเรื่องมาก ดังนั้นผมจะคิดเสมอว่าถ้าดูด้วยราคาค่างวดย่อมเยาได้ ก็จะได้เก็บส่วนนั้นไปรวมดูเรื่องอื่นได้อีก - - สยาม-ลิโด-สกาล่า ยังมีบัตรสะสมครบ 10 เรื่องดูฟรีไปเลย 1 เรื่อง แถมภายหลังยังรู้เพิ่มว่า รอบเช้า เสาร์-อาทิตย์ ยังเป็นรอบราคาย่อมเยากว่ารอบปกติ (หลังจากนั้นก็มาดูรอบนี้เป็นประจำ - - แน่นอนว่ากรณีที่ภาพยนตร์มีความยาวมาก สกาล่าก็มีการขึ้นค่าตั๋วเหมือนโรงอื่น นี่ตอนไปดู Infinity War มาที่โรงในเครือใหญ่ เขาก็ขึ้นค่าตั๋วเหมือนกัน ควักเป๋าตังค์หยิบเพิ่มแทบไม่ทัน - -) แน่นอนว่าถ้าการเดินทางมาสกาล่า(หรือมาใจกลางเมืองอย่างสยาม)ไม่สะดวกสำหรับหลายคน ลิโด-สยาม-สกาล่า ก็คงไม่ใช่ตัวเลือกต้นๆที่จะมาชมภาพยนตร์ในโรง โดยเฉพาะรอบเช้า เสาร์-อาทิตย์ (ราคาย่อมกว่า) ที่เริ่มราว 9:30-10:00 น. แต่สำหรับผมที่ครั้งหนึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ลำบากมากในการเดินทางมาชม การมาชมภาพยนตร์ที่นี่จึงเป็นสิ่งที่ปกติธรรมดามาก และทำให้ผม 'ติด' การมาชมภาพยนตร์ที่นี่ไปโดยปริยาย
เมื่อจบโครงการ ภาพยนตร์ที่ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์ ไป หอภาพยนตร์ฯคงเห็นศักยภาพในการจัดฉายภาพยนตร์ในโครงการนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่มีคนชมล้นโรงก็ตาม (เช่นถ้าจำไม่ผิด ภาพยนตร์อย่าง Goldfinger หรือ Psycho มีคนชมราวๆครึ่งโรง แต่ทั้งสองเรื่องก็เป็นความดีงามในแนวภาพยนตร์ของมันนะ (ก็คงไม่มีใครยกครอบครัวมาดู Psycho ละมัง หรือมี?)) จึงยังมีโครงการนำภาพยนตร์ คลาสสิค มาจัดฉายต่อไปเดือนละเรื่องเหมือนเดิม โดยใช้ชื่อโครงการว่า 'ทึ่ง ! หนังโลก' ตัวผมเองก็ดีใจและยังสนใจจะถ่อไปดู
เข้าใจว่าตัวเองน่าจะได้ดูโปรแกรมภาพยนตร์ที่จัดฉายในปีแรกครบทุกเรื่อง (ไม่แน่ใจเหมือนกัน ต้องไปรื้อตั๋วมาดู - -) อย่างไรก็ดีแม้ความจริงถ้ายังคงสะดวกผมก็ยังอยากจะไปดูภาพยนตร์ทุกเรื่องในโครงการนี้ที่สกาล่า แต่ผมก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้แล้ว ด้วยเหตุผลบางประการผมจึงไม่สามารถเดินทางไปชมภาพยนตร์ที่ ลิโด สกาล่า ได้ทุกอาทิตย์(ถ้าต้องการ)เหมือนเดิม อย่างไรก็ดี ผมยังมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์บางเรื่องในโครงการปีต่อมานี้ ซึ่งยังคงประทับใจกับการไปชมเหมือนเดิม แม้จะได้ชมเพียงเล็กน้อยไม่กี่เรื่องเท่านั้น จนปีต่อมาก็ยังคงมีการจัดฉายต่อ (ก็ดีใจต่อ แต่ก็เสียใจที่ไปชมไม่ได้... - -) จนมาถึงวันที่ผมรู้ว่า โรงภาพยนตร์ ลิโด และ สกาล่า จะหยุดการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2561 นี้ใกล้ๆกับการประกาศฉายภาพยนตร์ในโครงการนี้ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งจัดฉายเรื่อง Snow White ความรู้สึกอึ้งๆ มาพร้อมกับความรู้สึกว่าก็ยังดีที่เป็นช่วงที่ผมสามารถเดินทางไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่สกาล่าได้พอดี
ผมเองเคยดู Snow White มาหลายครั้ง เพราะความจริงเรื่องนี้ฉายก่อนผมเกิดตั้งนานซะอีก จึงเป็นการรับชมจาก 'วิดีโอเทป' ซะหลายครั้ง ครั้งที่ได้ชมตอนเป็นเด็กก็มีความรู้สึกอย่างนึงในวัยที่ดูการ์ตูนอะไรก็สนุก (กว่าทำการบ้านแหงๆ) Snow White ก็เป็นอนิเมชั่น (ที่เมื่อก่อนก็ไม่รู้จักคำนี้ด้วยซ้ำ ก็เรียกว่าการ์ตูนหมด) ที่สนุกสดใสเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ มีคนแคระเจ็ดคน เพลงเพราะ สนุกๆติดหู เมื่อโตขึ้นมาหน่อยได้ดูอีกก็เป็นอีกอย่าง ดูๆไปก็ชักเขิน มีบ้างที่ออกอาการไม่อิน ด้วยรู้สึกว่า Snow White ออกจะเป็น การ์ตูนผู้หญิง (ซึ่งว่าไปก็อาจไม่ผิดนัก เพราะเรื่องราวเล่าทั้งจากมุมของตัว สโนว์ไวท์ และ ราชินี ซะเป็นส่วนใหญ่ เจ้าชายก็แค่ตัวประกอบน่ะครับ ถึงจะสำคัญกับเรื่องก็เถอะ) พอโตมาอีกคราวนี้ด้วยเกิดรู้ถึงคุณค่าของอนิเมชั่นเรื่องนี้ ว่าเป็นความทะเยอทะยานของ วอลต์ ดิสนี่ย์ ที่จะทำอนิเมชั่น(ซึ่งวาดภาพลงสีด้วยมือ)ขนาดยาวเข้าฉายโรงให้จงได้ ความพยายามประดามีนั้นสำเร็จออกมาเป็น Snow White ผมจึงอยากหามาดูอีกครั้งด้วยมุมมมองที่ต่างจากเดิม นอกจากดูสนุกหรือไม่สนุกเท่านั้น
ปรากฎว่า Snow White เป็นอนิเมชั่นเรื่องนึงที่ 'สนุก' ในสายตาผม (ซะงั้น ทีก่อนนี้ทำเขิน คนเราก็เป็นซะแบบนี้) แน่นอนที่ด้านนึงมันยังมีองค์ประกอบแบบ การ์ตูนผู้หญิง ที่ทำให้ผมเขินหรือไม่อินมาก่อนในช่วงวัยหนึ่ง แต่ตอนนี้ก็ไม่ได้ไม่อินอะไร ผมดู Snow White ด้วยความสนุก รู้สึกว่ามันเล่าเรื่องได้สนุก แม้การเล่าเรื่องจะตรงไปตรงมามากกว่าอนิเมชั่นในยุคหลัง แต่มันก็ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยความสดใส มีฉากที่เต็มไปด้วยอารมณ์ และมีฉากที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพลงก็ไพเราะติดหู แถมสิ่งที่จำได้คือ แม้ผ่านกาลเวลามานาน มันก็ยังเป็นการ์ตูนวาดมือที่สวยงาม และมีการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลมาก (แม้จะได้ดูในยุคที่ผ่านตาอนิเมชั่น 2 มิติของดิสนี่ย์อย่าง The Beauty and the Beast, Aladdin, The Lion King หรือ Tarzan เป็นอาทิ มาแล้วก็ตาม) และทำให้ไม่ยากที่ผมจะบอกได้ว่า Snow White เป็นหนึ่งในกลุ่มอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ที่ผมชอบที่สุด แม้หลังจากนั้นผมจะไม่ได้มีโอกาสกลับไปดูบ่อยนักก็ตาม
Snow White and the Seven Dwarfs @ Scala |
การได้ไปดู Snow White ในโรงภาพยนตร์อย่างสกาล่า จึงเป็นความรู้สึกพิเศษสำหรับผม อาจจะพิเศษพอๆกับการอยากไปดู The Sound of Music หรือ 2001 : A Space Odyssey ที่สกาล่าเลยทีเดียว แม้ว่าในครั้งนี้ผมจะเดินทางไปชมด้วยความรู้สึกที่ปนเปก็ตาม ผมไปสายกว่าที่ตั้งใจ เวลาฉิวเฉียดการฉายกว่าที่อยาก ครั้งแรกผมเห็นว่าครั้งนี้เปิดขายตั๋วก่อนค่อนข้างนานกว่าปกติ (ซึ่งปกติขายก่อนราว 1 อาทิตย์) ผมจึงคิดเอาเองว่าอาจมีการประเมินว่าอาจมีคนต้องการชมมาก บรรยากาศยังคงคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่มาชมมากกว่าปกติ วันที่ไปมีบางคนไปถ่ายรูปหน้าโรงภาพยนตร์สกาล่า แต่ดูเหมือนไม่ได้มาชมภาพยนตร์ Snow White ด้วย แต่ในโรงครั้งนี้คนก็ไม่ได้เต็มโรงขนาด The Sound of Music หรือ สันติ-วีณา ซึ่งว่าไปก็อาจไม่แปลกนักเพราะแต่เดิมอนิเมชั่นก็ไม่ใช่แนวภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากในบ้านเรา กระทั่งภาพยนตร์อนิเมชั่นชื่อดังจากฮอลลีวูดเองที่ทำรายได้ถล่มทลายในบ้านเกิด ก็ไม่มีเรื่องไหนที่ฝ่าด่าน 100 ล้านบาทได้เลยในไทย ยกเว้น Minions เท่านั้น หรือ Your Name อนิเมชั่นจากญี่ปุ่นที่ทำรายได้ราว 42 ล้านบาท ก็มีสถานะเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่น(ไม่จำกัดว่าแนวไหน)ที่ทำรายได้มากที่สุดในไทยด้วย แม้ว่าจะมีหลายคนที่ดูจะไม่รู้ว่ามีการจัดฉาย Snow White ที่สกาล่าบ่นเสียดายว่าไม่รู้มาก่อน และเสียดายที่ไม่ได้ไปดูบ้างประปรายก็ตาม
บริเวณส่วนจำหน่ายตั๋ว ก่อนฉาย Snow White and the Seven Dwarfs |
ในครั้งนี้แม้จะจดจ่อกับการชมก็จริง แต่ผมก็รู้สึกไม่มีสมาธิมากนัก (โดยมีเสียงโยเยจากเด็กน้อยบางคนประกอบบ้าง ,มีผู้ปกครองที่ต้องอุ้มเด็กน้อยออกจากโรงภาพยนตร์ก่อนบ้าง แต่ไม่มีผลกับการชมของผมมากนัก) อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วผมก็ดู Snow White ด้วยความประทับใจและสนุกสนาน
ชี้แจง และคำอำลา จากลิโด และสกาล่า... |
ผมยังทึ่งกับการวางเรื่องเล่าที่แม้จะไม่ซับซ้อนอย่างที่ว่าแต่ก็เล่าได้สนุก นอกจากจะเห็นความลื่นไหลสวยงามของอนิเมชั่นวาดมือแล้ว คราวนี้ผมยังรู้สึกว่าเป็นความฉกาจฉกรรจ์ของดิสนี่ย์ที่เล่าเรื่องออกมาแบบนี้ จริงอยู่ที่ดิสนี่ย์วาดภาพสโนว์ไวท์ออกมาเป็นหญิงสาวผู้มีความร่าเริง อ่อนหวาน รักสัตว์ (และก็คงจะรักเด็กด้วย) แต่ก็เป็นสาวน้อยอ่อนแอ ถ้าเล่าในเพียงมุมของสโนว์ไวท์ ผมก็อาจจะไม่สามารถสนุกไปกับอนิเมชั่นเรื่องนี้ได้ทั้งหมด หรือสนุกไปทั้งเรื่อง แต่ความจริงแล้วการเล่าเรื่องกลับเทน้ำหนักไปที่อีกด้านหนึ่งมากเหมือนกัน คือ ส่วนของคนแคระทั้ง7 ซึ่งมีบทบาทเด่นและปรากฎบนจอราวกับเป็นอีกตัวเด่นของเรื่อง โดยมีการวางบุคลิกของแต่ละคนให้มีความโดดเด่นของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นการเพิ่มรายละเอียดและมิติของเรื่องเล่าให้กับเรื่องราวที่ดำเนินไปได้อย่างสนุกสนาน (แม้ว่าเมื่อเทียบกับเรื่องเล่าต้นฉบับ เรื่องราวของสโนว์ไวท์จะ มืด กว่านี้มาก และไม่สวยหวานอย่างที่เห็นในเวอชั่นดิสนี่ย์เลยก็ตาม) เมื่อประกอบกับการปรากฏตัวในฉากขุดเหมืองและเพลงประกอบสนุกติดหูอย่าง Heigh-Ho! แล้ว ก็ไม่ยากที่คนแคระทั้ง7 จะกลายมาเป็นตัวเด่นและส่วนสำคัญในการดำเนินเรื่องอย่างที่ชื่อเรื่องว่าไว้อย่างมีชีวิตชีวา
ทั้งแม้อาจดูไม่เหมาะนักที่จะดู คนแคระทั้ง7 เหมือนเป็นแค่ลูกคู่ตัวรอง (Sidekicks) ในอนิเมชั่นเรื่องนี้ เพราะดูๆไปบทบาทของทั้ง7 บนจอ เผลอๆก็มากพอๆกับสโนว์ไวท์ แต่นี่ก็อาจนับว่าเป็นเหมือนต้นแบบของอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ที่มีเรื่องราวสนุกสดใส เพลงประกอบเพราะๆ และมีลูกคู่ตัวรองที่โดดเด่นคอยสร้างความสนุกสนานแย่งซีนเคียงคู่บรรดาตัวเอก (แม้เรื่องนี้ถ้านับแบบนั้นจะมีมากมายถึง 7 คนก็ตาม) อย่าง ทีโมน พุมบ้า อีอาโก้ ใน The Lion King เซบาสเตียน ใน The Little Mermaid หรือ เจ้าอาบู หรือพรมวิเศษ (นี่ดูเป็นบรรพบุรุษของผ้าคลุมใน Doctor Strange ชอบกล - แต่อยู่ค่ายเดียวกันแล้ว ไม่เป็นไร) ใน Aladdin เป็นต้น
จริงอยู่ว่าการเล่าเรื่องใน Snow White เวอชั่นนี้เน้นความสนุกสนาน และสดใส โดยมีซีนน่ากลัวคั่นบ้างเป็นระยะ แต่ทั้งหมดก็ถูกนำเสนออกมาโดยมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย ทั้งการกำหนดบุคลิกให้แต่ละตัวละคร กำหนดสถานการณ์วางมุข แถมยังต้องสอดคล้องไปกับบทเพลงและการเล่าเรื่อง รายละเอียดหลายอย่างทั้งลายเส้นและการเคลื่อนไหวล้วนถูกนำเสนออย่างละเอียดละออ แค่ดูเอาจากส่วนที่มีเพลงประกอบอย่าง เช่น Whistle While You Work ในฉากทำความสะอาดบ้าน หรือ Heigh-Ho! ในฉากขุดเหมืองนี่ก็เรียกได้ว่าเป็นตำราอนิเมชั่นได้แล้ว ฉากทั้งหมดเต็มไปด้วยรายละเอียดของการเคลื่อนไหวของหลายตัวละครในฉาก ทั้งตัวสโนว์ไวท์เอง บรรดาสิงสาราสัตว์ หรือบรรดาคนแคระ และการเล่าเรื่องที่มีจุดเล็กจุดน้อยเป็นสีสัน ทั้งยังอยู่ในจังหวะของเพลงประกอบ เมื่อดูในวันนี้ (ด้วยยังไงในที่นี้ก็มีการพินิจมากกว่าเดิม) ผมจึงยิ่งรู้สึกว่ามันน่าประทับใจมาก
ไม่นับว่าฉากอื่นๆแม้จะไม่ได้มีรายละเอียดของตัวละครในฉากมากมายเท่า แต่มันก็เต็มไปด้วยการคิดคำนวนในการนำเสนอและการเล่า ซึ่งช่วยเสริมอารมณ์ในเรื่องราวที่เราสัมผัสได้อย่างดี ทั้งนอกจากความทะเยอทะยานที่จะทำอนิเมชั่นสีขนาดยาวเข้าสู่โรงภาพยนตร์แล้ว มันยังเต็มไปด้วยเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่บางทีผมก็ไม่ได้สังเกต เช่น การเริ่มเล่าเรื่องด้วยเรื่องราวที่ฉายเข้าไปในหนังสือที่ดูประณีตมาก ฉากมองลงไปในบ่อในช่วงเริ่มๆของเรื่อง หรือจะเป็นฉากกระจกวิเศษเองก็ตาม กระทั่งฉากการเตรียมการของราชินีก็ยังมีการเล่าด้วยภาพที่น่าประทับใจ
แม้เจ้าหญิง สโนว์ไวท์ อาจไม่ใช่ตัวละครโปรดของผมอย่าง อาละดิน หรือ ซิมบ้า และคนแคระทั้ง 7 อาจไม่กวนตรีนและมีลูกบ้าได้เท่า จินี่ แต่ภาพยนตร์ Snow White ก็ยังคงเป็นหนึ่งในอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ที่ผมชอบ (และอาจด้วยความชื่นชม) เป็นอันดับต้นๆของดิสนี่ย์
ผลลัพธ์ทั้งหมดที่ปรากฎในอนิเมชั่นเรื่องนี้เป็นผลงานที่คุ้มค่า ตามที่ วอลต์ ดิสนี่ย์ กล่าวถึงความตั้งใจของทั้งตัวเขาเอง และความตั้งใจ ตรากตรำ ของทีมงาน ในการทำ Snow White ให้สำเร็จออกมา ดังที่เขาขึ้นคำกล่าวขอบคุณทีมงานไว้ตอนต้นเรื่องของ Snow White (นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่ผมเพิ่งสังเกตเห็น - -) และแม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะชมชอบแนวทางของดิสนี่ย์ แต่มันก็ได้กลายไปเป็นหมุดหมายสำคัญของทั้งดิสนี่ย์เอง สำหรับการก้าวไปเป็นจ้าวแห่งอนิเมชั่น 2 มิติต่อมาในเวลายาวนาน บ่มเพาะรากฐานและมาตรฐานต่างๆที่ล้วนมีคนอยากไปให้ถึงและก้าวผ่านไปให้ได้ เป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับโลกอนิเมชั่น และโลกภาพยนตร์ สโนว์ไวท์เองก็กลายไปเป็นหนึ่งในไอคอนตลอดกาลของบรรดา เจ้าหญิง แห่งดิสนี่ย์ สืบสานมายัง เจ้าหญิง แห่งอนิเมชั่นยุคใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างของดิสนี่ย์เองอย่างใน Frozen หรือ Moana รวมถึงส่งอิทธิพลไปยังวัฒนธรรมอื่นๆต่อมาอีกมากมาย กระทั่งเราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าถ้าไม่มี อนิเมชั่นดิสนี่ย์ ไม่มี Snow White เราคงไม่มีอนิเมชั่นล้อเลียนโค-ตะ-ระสนุก อย่าง Sherk (2ภาคแรก - ที่เหมือนเอาโลกของดิสนี่ย์คลาสสิคมากลับหัวกลับหาง) เงาของ Snow White ที่เกิดจากความมุ่งมั่นทะเยอะทะยานของ วอลต์ ดิสนี่ย์ ยังทอดยาวไปไกลกว่ากระทั่ง วอลต์ ดิสนี่ย์ จะคาดคิด (แม้ผมเดาว่า วอลต์ ดิสนี่ย์ คงรับไว้ด้วยความหน้าชื่นตาบาน (แน่นอนผมไม่อาจรู้ได้ว่าเขาจะคิดอย่างไรกับ Shrek ) และอาจพูดแค่ว่า "ผมคิดไว้อยู่แล้ว" ก็เป็นได้)
รายละเอียดมากมายที่ได้ชมผ่านอนิเมชั่นเรื่องนี้คงไม่สามารถนำมาบอกเล่าได้หมดในที่นี้ (ไม่นับว่าหลายอย่างผมก็ไม่ได้สังเกตได้ทั้งหมดในครั้งแรกๆที่ได้ดูด้วย - - แล้วจริงๆ...จะเรื่องไหนก็ไม่หมดเหมือนกันแหละ...) แต่ ณ การรับชมในเวลานี้ ในวันนั้นที่สกาล่าซึ่งผมประทับใจตั้งแต่ ม่านค่อยๆเลื่อนเปิดออกพร้อมภาพคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยเริ่มฉาย ต่อด้วยวิดีโอแสดงภาพยนตร์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติจากหอภาพยนตร์ฯ (แม้ไม่เกี่ยวกับ Snow White โดยตรง แต่มันเป็นการนำเข้าการฉายที่ให้ความรู้สึก เอพิก อย่างบอกไม่ถูก) และขณะที่ภาพของอนิเมชั่น Snow White and the Seven Dwarfs เริ่มปรากฎบนจอพร้อมเสียงเพลงประกอบค่อยๆดังขึ้น ตลอดการฉายจนจบลง เป็นความประทับใจสำหรับผม และเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ผมดีใจที่ได้มีโอกาสรับชมในโรงภาพยนตร์สกาล่า นับว่า Snow White and the Seven Dwarfs เป็นความทะเยอทะยาน เป็นความฝันของ วอลต์ ดิสนี่ย์ ที่หลายคนเองก็กังวล กังขา กระทั่งอาจไม่เชื่อถือ ว่ามันจะสำเร็จออกมาอย่างงดงามได้ กลายเป็นผลงานยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องนึงของฮอลลีวูด ทำรายได้มากเกินใครส่วนใหญ่ในตอนนั้นจะคาดคิด แม้ผมจะเพียงได้ยินเรื่องเล่าถึงความพิเศษและยิ่งใหญ่ของ Snow White จากการอ่านการฟังมาโดยไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับเรื่องที่ถูกเล่าเหล่านั้นจริงๆ มันเป็นเรื่องราวก่อนยุคสมัยที่ผมได้รับรู้ทั้งสถานที่และเวลา แต่ผมก็รู้สึกว่า แม้จะด้วยเป็นมาจากจินตนาการของผมเป็นส่วนใหญ่ การรับชม Snow White and the Seven Dwarfs ที่สกาล่า ก่อนเดินเข้าไปยังโรงภาพยนตร์ได้เห็นป้ายที่ยังใช้ตัวอักษรเรียงกันแบบโรงสมัยเก่า ผ่านไปยังป้ายดิจิทัลที่เปลี่ยนใหม่มาได้ราว 2-3 ปี ขึ้นบันไดราวจับไม้อันคุ้นเคย ผ่านโคมไฟระย้าอันเก่าที่ยังคงดูหรูหรา ไปบนพื้นที่หน้าโรงฉาย ที่มีป้ายประดับจากเรื่องนี้เข้ากับบรรยากาศ พร้อมป้ายบรรยายคำเตรียมอำลาจากสกาล่า...
หลังการฉาย |
การเห็นผู้คนคลาคล่ำ และเจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์ที่มาพร้อมของประชาสัมพันธ์ หนังสือ นิตยสาร และดีวีดี ภาพยนตร์ไทยคลาสสิคให้ได้ถามไถ่ซื้อหากัน ก็พอจะปลอบใจอาการใจหายและเสียดายได้บ้าง ก่อนแสดงตั๋วแก่เจ้าหน้าที่ในสูทชุดเหลืองที่เคยคุ้นทั้งชุดและคุ้นหน้าค่าตากัน บรรยากาศในโรงภาพยนตร์ที่แม้จะผ่านกาลเวลามา แม้จะด้วยระบบฉายที่เปลี่ยนเป็นดิจิทัล และจอภาพที่เปลี่ยนใหม่มาไม่นาน แม้อาจยังดูไม่สว่างใสเท่าจอในโรงเครือใหญ่หลายค่าย (ผมไม่เชี่ยวชาญเรื่องนี้นัก แม้เคยได้ยินได้อ่านมาจากหลายคน เพราะไม่ค่อยได้ดูเรื่องเดียวกันเปรียบเทียบกับโรงอื่น แต่จริงๆเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับผมเท่าไหร่ในการชมภาพยนตร์ ผมไม่ค่อยรู้สึกอะไรตอนชมที่สกาล่าหรือลิโด ส่วนสยามบอกตรงๆว่าผมจำไม่ค่อยได้แล้วครับ - - และถ้าดูแล้วถูกใจยังไงก็ไม่หลับ แต่ถ้าไม่ถูกใจยังไงก็มีสัปหงก - -) เมื่ออยู่ในบรรยากาศภายในโรงสกาล่า จินตนาการที่อาจไม่เกิดขึ้นถ้าผมได้ดูในโรงอื่น ก็ยังเติมบรรยากาศให้คิดไปเองว่าได้สัมผัสกับเสี้ยวบรรยากาศของความพิเศษยามเมื่อ Snow White ปรากฎบนจอมอบความตื่นตาให้ผู้คนในยุคสมัยนั้นได้อย่างวิเศษ...
เสียดายก็แต่ความรู้สึกวุ่นวายใจกว่าที่คิดทั้งก่อนเริ่มชม และหลังชม เท่านั้น แม้คนจะไม่มากเท่าครั้งจัดฉาย The Sound of Music แต่หลังออกจากโรงภาพยนตร์ ผมก็ยังได้พบภาพคนหลากหลายวัยเข้าคิวถ่ายรูปกับป้ายประดับ ตั้งแต่คุณย่าคุณยาย คุณแม่ คุณพี่คุณน้องวัยรุ่น คุณๆที่มาเป็นคู่ กระทั่งคุณหนูสโนว์ไวท์ตัวน้อย ที่แต่ง cosplay แบบเป๊ะมาชมพร้อมคุณพ่อคุณแม่ถ่ายรูปกับป้ายด้วยรอยยิ้ม ผมเองก็ถ่ายรูปติดมาบ้าง อ้อยอิ่งอยู่ซักพัก หลังซื้อข้าวโพดคั่วรสเค็มธรรมดา (ที่ราคาไม่แรงเท่าโรงใหญ่) กล่องเล็กราคา 20 บาท (กล่องใหญ่ 40 แต่มาคนเดียว กลัวจะกินไม่หมด - -) ผมก็เดินลงบันไดเพื่อออกจากโรง ผ่านด้านล่างที่ตั้งของภัตตาคารสกาล่า ที่มีเมนูชื่อดังเป็นเป็ดปักกิ่ง ไปยังจุดหมายต่อไปของวันนั้น โดยยังอดเหลือบไปมองโคมไฟใหญ่ของสกาล่าโคมนั้นไม่ได้...
นี่คงเป็นประสบการณ์ที่ยากจะหาในการชมภาพยนตร์ซักเรื่องได้จริงๆ...
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพยนตร์เรื่อง Snow White and the Seven Dwarfs ไม่ใช่ภาพยนตร์ในโครงการ ทึ่ง ! หนังโลก เรื่องสุดท้ายที่จะฉายที่สกาล่า ถ้าสกาล่าต้องปิดตัวลงจากการฉายภาพยนตร์ในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ คือ ในเดือนพฤษภาคม ยังมีจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง Apocalypse Now ซึ่งจริงๆถ้ายังอยู่ในวิสัยที่เดินทางไปชมได้ ผมก็คงยังจะซื้อตั๋วเข้าไปชมเรื่องนี้ที่สกาล่าเช่นเดิม แม้จะเคยชมภาพยนตร์เรื่องนี้ (น่าจะดีวีดี) มาแล้ว
ภาพยนตร์เล่าเรื่องช่วงสงครามเวียดนาม เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องมากเรื่องนึงของ ผู้กำกับ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา (The Godfather : part I,II,III ,The Conversation ,Bram Stoker's Dracula ฯลฯ) แม้บรรยากาศการชมคงจะแตกต่างจากบรรยากาศสนุกสดใสของ Snow White and the Seven Dwarfs ชนิดเป็นคนละเรื่อง แต่ชื่อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็กลับดูเข้ากับการชมอำลาสำหรับโอกาสพิเศษที่บางคนอาจเข้าไปชมเพราะสนใจตัวภาพยนตร์พร้อมรำลึกสกาล่าอย่างประหลาด...
การจัดฉาย Apocalypse Now จะมีขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2561 วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ซึ่งคงเปิดขายตั๋วล่วงหน้าที่ส่วนขายตั๋วของโรงภาพยนตร์สกาล่าล่วงหน้ามาแล้วราว เกือบ 1 อาทิตย์
แม้ผมจะไม่ได้ไปชม ก็หวังว่าคนที่ไปชมคงได้รับประสบการณ์บางอย่างกลับมา ไม่มากก็น้อย...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น