วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

[ภาพยนตร์] SULLY ซัลลี่ ปาฏิหาริย์ที่แม่น้ำฮัดสัน : ราคาของฮีโร่...



แบบสั้นๆ
ปาฏิหาริย์ที่แม่น้ำฮัดสัน เป็นวีรกรรมของกัปตัน ซัลลี่ ของสายการบินเดลต้า ที่ตัดสินใจครั้งสำคัญหลังจากเครื่องบินทะยานขึ้นได้ไม่นานแล้วเกิดอุบัติเหตุให้เครื่องยนต์ของปีกทั้ง 2 ข้างมีปัญหา กัปตันต้องตัดสินใจว่าจะหลีกเลี่ยงอันตรายและหายนะที่จะเกิดได้อย่างไร จะย้อนกลับไปยังสนามบินที่บินขึ้น หรือเปลี่ยนเส้นทางไปยังที่ที่พอจะลงจอดได้ และการตัดสินใจของกัปตันที่อาจไม่ใช่คำตอบที่หลายคนคาดคิดก็คือ... แม่น้ำฮัดสัน

ทีแรกที่ดูตัวอย่างหนัง Sully อาจมีหลายคนนึกไปถึงหนังอย่าง Flight ของ ผกก.โรเบิร์ต เซเมกคิส ที่มีเดนเซล วอชิงตัน นำแสดง

ส่วนใน Sully เป็นการมาร่วมงานกันของ ผกก. คลินท์ อีสท์วู๊ด และนักแสดงอย่าง ทอม แฮงค์

สำหรับผู้กำกับ เอาจริงๆ ผมค่อนข้างทึ่งและนับถือ ผกก. คลินท์ อีสท์วู๊ด เพราะกระทั่งด้วยวัยเกิน 80 แกยังคงทำหนังออกมาอย่างต่อเนื่อง (ผกก.รุ่นเก๋าคนอื่นๆก็ยังมีอีกหลายคน เช่น วูดดี้ อัลเลน ที่เพิ่งมี Cafe Society ฉายไปไม่นาน) แถมหนังแต่ละเรื่องที่แกทำนี่ก็เต็มไปด้วยเอเนอจี้ ยังคงมีความเข้มข้น และมีความมั่นอกมั่นใจในการนำเสนอ ทั้งหลายๆเรื่องยังเล่นกับสเปชี่ยลเอ็ฟเฟ็กท์อีก เรียกว่ากระทั่งผู้กำกับหนุ่มๆอาจจะดูไม่ พลัง ได้เท่า ผกก. คลินท์ อีสท์วู๊ด ก็ได้

ส่วน ทอม แฮงค์ ยังคงแสดงได้ดีสมมาตรฐาน แม้ว่าบทอาจไม่ดูผ่อนคลายหรือน่าสนุกอย่างใน A Hologram for the King แต่ ทอม แฮงค์ ก็แสดงได้อย่างเข้มข้นในเรื่องนี้ ให้ภาพนักบินมากประสบการณ์ได้น่าเชื่อถือดีทีเดียว ทั้งยังถ่ายทอดอารมณ์ในหลายๆช่วงออกมาได้ดีด้วย ถือว่าการแคส ทอม แฮงค์ มาเป็นซัลลี่ในเรื่องเป็นคำตอบที่ดีมากคำตอบนึงเลย

แม้จะคล้ายกับ Flight แต่ประเด็นที่หนังดูจะมุ่งเน้นนั้นก็ดูจะต่างกัน และที่ต่างกันอีกประการคือเรื่องราวในแม่น้ำฮัดสันนั้นสร้างจากเรื่องจริง

และเรื่องราวที่เป็นเรื่องจริงก็ดูจะไม่ใช่แค่เรื่องของปาฏิหาริย์

ในที่นี้  ผกก. คลินท์ อีสท์วู๊ด ร้อยเรียงเหตุการณ์และเล่าเรื่องได้เข้มข้น การลำดับเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆมาจนถึงตอนท้ายของเรื่องมีทั้งความเข้มข้น สะเทืิอนอารมณ์ ทั้งฉากระทึกที่เกี่ยวกับเครื่องบินก็คุมจังหวะ และนำเสนอภาพได้เป็นอย่างดี รู้สึกถึงทั้งความอันตราย ระทึก การตัดสินใจ ความไม่แน่ใจ และความหวัง ทั้งการแสดง และภาพ ในหลายช่วงสำคัญของหนังนั้นให้ภาพของทั้งความใหญ่โตของสิ่งที่ตาเห็นและความรู้สึก ถือว่าการตัดสินใจไปชมเรื่องนี้แบบจอใหญ่ IMAX (แม้ไม่ใหญ่ที่สุด) นั้นเป็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่า

จังหวะของนักแสดงแต่ละคนยังถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างดี มีจังหวะจะโคน มีความเป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย และเข้มข้น ในหลายๆบทบาทแม้ไม่ใช่บทเด่นอย่างซัลลี่ นักแสดงหลายคนก็ให้การแสดงที่ดีมาก โดยเฉพาะในบทและช่วงเวลาที่บีบคั้นความรู้สึก และนักแสดงอย่าง แอรอน แอ็คฮาร์ต ก็ให้การแสดงที่เข้าคู่กับทั้ง ทอม แฮงค์ อารมณ์ของหนัง และเรืองราว ได้ดีมาก

แม้จะเล่าเรื่องในคนละมุมกับ Flight แต่ด้านนึงอาจจะถือว่าเป็นมุมกลับของ Flight ก็เป็นได้

คุณสมบัติใดที่ทำให้คนๆหนึ่งกลายเป็นฮีโร่?

[ภาพยนตร์] FEBRUARY เดือนสอง ต้องตาย : หญิงสาว ความมืด และเลือด กลางหิมะ





แบบสั้นๆ
พูดกันตรงๆ ยกเว้นความเป็นหนังสยองแล้ว ที่ทำให้คิดว่า FEBRUARY น่าสนใจก็คือสามสาวนักแสดงในเรื่องนี่เอง (อย่างที่บอกกันไปแล้วในตอนแนะนำป้ายหน้าหนังสยองไปชุดนึง ซึ่ง...ก็มีรู้ตัวว่ายังมีตกบางเรื่องที่ก็สนอยู่ แต่ดันลืมไปอย่างน่าเขกหัว เพราะงั้นก็จะน่าเอามาแนะนำเพิ่มไว้อีกแหละ) และเมื่อมีความตั้งใจไปดูแล้ว ก็ต้องหาทางจัดเวลาไปดูกันหน่อย

ก็พบว่า รอบมันก็ดูน้อยๆ หาดูลำบากหน่อยๆ เหมือนกัน ก่อนจะไปพบว่า อ่าว คำวิจารณ์เรื่องนี้ก็ดูไม่ดีเท่าไหร่แฮะ? แต่เราก็ไม่สน (เนื้อหาคำวิจารณ์ก็ไม่ได้อ่าน) ไหนๆก็ตั้งใจจะไปดูแล้วนี่นะ ก็จัดเวลาหารอบไปดูมาจนได้ (ซักพักใหญ่แล้ว)

แม้ว่าจะไม่แน่ใจว่าแบบยาวๆจะได้มาเขียนเพิ่มไหม? และเมื่อไหร่?  (อย่างที่ก็เป็นแบบนี้แหละมาตลอด...) ถ้าเอาแบบสั้นๆ จริงถ้าเทียบกับคะแนนที่เห็นผ่านๆแล้ว คิดว่า FEBRUARY  โอเคกว่าที่คิดนะครับ คิดว่ามันดีกว่าคะแนนที่เห็นผ่านๆมา

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

NEXT STOP ป้ายหน้า(ตั้งแต่)กันยาสยอง ' 59

แนะนำ 13 เกมสยอง ก็แนะนำครบกันไป (เสียที!) แล้วนะครับ ไว้ค่อยหาเรื่องเขียนถึงกันต่อไป

แต่เราก็ยังไม่ยอมจบเรื่องอะไรสยองๆกันง่ายๆ

จากที่ผ่านมา เราก็ได้ผ่านตาหนังสยองกันมาเรื่อยๆ อย่าง Abattoir ที่เพิ่งเขียนถึงไป ก็อาจจะน่าเสียดายที่มันอาจจะมีข้อบกพร่องซึ่งทำให้มันไม่ใช่ความสยองอันน่าพึงพอใจหนักๆในท้ายที่สุด แม้จะกำกับโดยผู้กำกับ Saw ภาค 2 ถึง 4 และมีไอเดียรึเรื่องราวบางส่วนที่ก็น่าสนใจดีเหมือนกัน

แต่! แฟนๆรึคนหนังสยองก็ยังไม่ต้องหนักใจไป เพราะ! ยังมี 'สยอง' อีกหลายเรื่องรอจ่อคิวมอบความเขย่าขวัญให้กับคุณๆ

ก็คงขึ้นอยู่กับแต่ละเรื่องว่าจะทำมาพ้องพานรสนิยมความพอใจความชอบความสยองของแต่ละคนที่คาดหวังไว้ได้มากน้อยขนาดไหน?

เพราะฉะนั้น ก็ขอแนะนำหนังสยองที่จ่อคิวรอฉายตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2559 นี้ ไว้เผื่อให้คน 'สยอง' ทุกท่านได้พิจารณาเตรียมตัวและใจไว้เลือกชมกันตามอัธยาศัยครับ!




FEBRUARY เดือนสอง ต้องตาย (เข้าฉาย 8 กันยายน 2559)



แม้จะดูตัวอย่างหนังที่เราเองไม่ค่อยจะรู้อะไรเท่าไหร่ รู้เพียง แบรมฟอร์ด หิมะ ฯลฯ และดูมันจะเป็นหนังเน้นบรรยากาศและความลึกลับมากกว่า รวมถึงแม้จะมีตัวอย่างคำชมไว้ในตัวอย่างหนัง

แต่เหตุผลประกอบจริงๆที่ทำให้เราอยากดูหนังเรื่องนี้ก็คือ

เราดูตัวอย่างและเกิดคิดถึง ราฟีน่า จาก Sing Street และ วี จาก Nerve ครับ (เริ่มมาเรื่องแรกก็ชิงหลุดประเด็น(อย่างน่าสยอง?!)กันเลย!)

หรือจริงๆก็คือ เราอยากเห็นหน้า ลูซี่ บอยน์ตัน (Lucy Boynton) กับ เอ็มมา โรเบิร์ตส์ (Emma Roberts) (แม้จะบอกว่าเธอผอมบางไปนิดในครั้งเจอเธอใน Nerve) ทั้งยังมี เคียแนน ชิปก้า (Kiernan Shipka) ร่วมแสดงในหรังสยองเรื่องนี้อีกด้วย

เราจึงหารูปสวยๆของทั้งสามสาวมาให้ดูกันไว้ด้วยครับ (เรียงตามลำดับ)


รูปของ ลูซี่ บอยน์ตัน (Lucy Boynton) กับ เคียแนน ชิปก้า (Kiernan Shipka) เอามาจากภาพในเซต ภาพนักแสดงจากภาพยนตร์มี่เข้าร่วมเทศกาลหนังโตรอนโตเมื่อปีที่แล้ว และ FEBRUARY ก็เข้าร่วมด้วย ซึ่งเอามาจาก ที่นี่ ลองไปกดดูเพิ่มเติมกันนะครับ และเนื่องจากภาพสวยๆชุดนี้เป็นภาพขาวดำ เลยเลือกภาพขาวดำของ เอ็มม่า โรเบิร์ตส์ มาเป็นขาวดำด้วยจะได้เข้าชุดกันทั้งสามสาวครับ

ตัวอย่างหนัง




SEOUL STATION ก่อนนรกซอมบี้คลั่ง (เข้าฉาย 15 กันยายน 2559)


เพิ่งผวากันไปกับซอมบี้พันธุ์เกาหลัใน Train to Busan ด่วนนรกซอมบี้คลั่ง ไป และในไทย หนังดราม่าซอมบี้เกาหลีเรื่องนี้เองก็ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง (จนได้ยินข่าวว่าน่าจะกลายเป็นหนังเกาหลีทำเงินสูงสุดในไทย)

ซึ่งก็เป็นโอกาสอันดีที่ค่ายหนังก็เห็นเป็นโอกาสที่จะนำเอา เรื่องราวก่อนหน้า Train to Busan เข้ามาฉายให้ดูกันในไทยด้วย!

แม้จะเป็นอนิเมชั่น ซึ่งต่างไปจากภาพยนตร์ live action คนแสดง แบบ Train to Busan แต่เรื่องความเข้มข้น กดดัน ความสยอง (รวมไปถึงดราม่า) ก็ยังน่าจะรับประกันได้ เพราะว่า ผู้กำกับและเขียนบทของอนิเมชั่น Seoul Station เรื่องราวของการระบาดไข้ซอมบี้ ในสถานีกรุงโซล ก่อนหน้าเหตุการณ์ใน Train to Busan ก็คือ Yeon Sang-ho ซึ่งก็เป็นทั้งผู้เขียนบทและผู้กำกับของ Train to Busan น่ะแหละ! (ฉายปีเดียวกันด้วย อะไรจะขยัน(สยอง)ขนาดนี้!)

แถมก่อนนี้ Yeon Sang-ho ก็สร้างชื่อมาจากหนังอนิเมชั่นดราม่าทริลเลอร์อย่าง Saibi (The Fake) และ Dwae-ji-ui wang (The King of Pigs) มาก่อน จนได้มากำกับ Train to Busan ด้วย! อยากไปหาอนิเมชั่นสองเรื่องนั้นมาดูตะหงิดๆขึ้นมาทันที

เพราะงั้นแฟนๆ Train to Busan ด่วนนรกซอมบี้คลั่ง ที่สนใจอยากรู้เรื่องราวก่อนหน้านั้น ก็คงต้องลองมาติดตามกันเรื่องราวกันใน สถานีกรุงโซล Seoul Station ก่อนนรกซอมบี้คลั่ง นี้กันดู หรือแฟนอนิเมชั่นพันธุ์สยอง ซึ่งไม่ใช่จะหลุดมาฉายโรงกันบ่อยๆ แถมเป็นรสชาติเกาหลีอีก ก็ถือเป็นอนิเมชั่นไม่ควรพลาด!

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

[ภาพยนตร์ ,อนิเม] KUBO AND THE TWO STRINGS คูโบ้ และพิณมหัศจรรย์ : มนต์มหัศจรรย์ผ่านสต๊อบโมชั่นเล่าขานตำนานญี่ปุ่นอันน่าประทับใจ


แบบสั้นๆ
มีความผิดพลาดของตัวผมเองจำนวนนึงที่เกิดขึ้นตอนดูหนังตัวอย่างของ Kuboฯ คือทีแรกผมแค่รู้สึกว่า โอ นี่เป็นการ์ตูนอนิเมชั่นอีกเรื่องจากยูนิเวอร์แซลปีนี้แฮะ (ที่ส่งอนิเม ชีวิตลับเหล่าสัตว์เลี้ยง ลงจอมาก่อนหน้านี้ และยังจะมีเรื่องที่เขาจะปล่อยในปีนี้อีก(อย่างที่บอกว่ามี hint ในเรื่องด้วย)นะ) ดูๆไปก็เป็นอนิเมชั่นสไตล์ที่เล่าเรื่องราวตำนานญี่ปุ่น ที่มีภาพ 'คอมพิวเตอร์สร้าง' ทั้งฉากและตัวละครที่มีดีไซน์แปลกตาแต่ก็เข้ากับบรรยากาศในเรื่องและเคลื่อนไหวได้ลื่นไหลดีจัง น่าดูดี

ความผิดแรกของผมคือ แม้จะมีภาพคอมพิวเตอร์สร้างจริง แต่มัน ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะนี่เป็นอนิเมชั่นเทคนิค Stop-Motion มันเป็นการสร้างหุ่นจริงๆ ขึ้นมาแล้วขยับไปทีละเฟรม เป็นเทคนิคอย่างทีมีใช้ในภาพยนตร์หลายเรื่องก่อนที่การใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกจะเฟื่องฟูแบบปัจจุบัน (ที่เขาไม่ต้องรอฟ้าใสฟ้าโปร่งเมฆ(จริงๆ)สวยอะไรกันแล้ว เพราะไปแก้เอาทีหลัง(ก็)ได้(เฟร้ย)) พอรู้มาทีหลังแล้วได้ดูตัวอย่างอีก คราวนี้ถึงรู้! ทั้งบางคนก็น่าจะเคยผ่านตาอนิเมชั่นที่ใช้เทคนิคนี้เต็มสูบมาแล้ว อย่างเช่น Nightmare before Christmas, Chicken Run, Frankenweenie (รีเมกจากหนังของตัวเองโดย ทิมเบอร์ตัน), ฯลฯ จากสตูดิโอ Laika ที่สร้างชื่อจากอนิเมชั่นเทคนิคนี้มาหลายเรื่องแล้ว!

และที่น่าเขกกระโหลกตัวเองนักอีกอย่างคือ ทีแรกผมจำสตูดิโอ Laika ไม่ได้! ทั้งที่เรื่องที่เจ็บใจมากๆเรื่องนึงไม่กี่ปีก่อนคือการที่ อนิเมชั่นสต๊อปโมชั่นจากสตูดิโอนี้อย่าง ParaNorman แคนเซิลการมาฉายโรงในไทยไป โดยมีรอบพิเศษฉายแบบ 3D ให้ดูกันรอบเดียวและผมก็ไม่สะดวกไปดูอย่างน่าเจ็บใจ ทั้งพบในภายหลังตอนที่ดูเอาจาก DVD ว่า มันทั้งมีเอกลักษณ์ทั้งการออกแบบและการเล่าเรื่อง เทคนิคสต๊อปโมชั่นยังยอดเยี่ยมกระเทียมดอง แถมมันยังสนุกอย่างร้ายกาจ! น้ำตาจะไหล...

เขกกระโหลกตัวเองไปซัก 2 ที โทษฐานที่ตาถั่วและจำไม่ได้ ปฏิบัติ!

เพราะงั้น ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันที่น่าจะมีไว้เป็นข้อมูลสำหรับคนดูที่อาจพิจารณาหนังเรื่องนี้

สำหรับคนดูที่ชอบเรื่องของเทคนิค โดยเฉพาะเทคนิค STOP-MOTION (เช่น คนที่อินกับสารคดีอย่าง CREATURE DESIGNERS - THE FRANKENSTEIN COMPLEX หรือในชื่อไทยว่า มอนสเตอร์เนรมิตร ที่ Documentary Club นำเข้ามาฉายไปก่อนหน้านี้) หรือชื่นชอบอนิเมชั่นสต๊อปโมชั่น (อย่างที่ร่ายรายชื่อไปนิดหน่อยข้างต้น) นี่คือหนังสำหรับคุณครับ นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานพิถีพิถันจากสตูดิโอ Laika ที่ใช้เวลาสร้างกว่า 5 ปี แถมมีหุ่นอนิเมทขนาดใหญ่ยักษ์ (เคยไปนั่งดูที่เขามีจอฉายตัวอย่าง หรือเบื้องหลังเรียกน้ำย่อย เพิ่มความอยากให้ตัวเองมาด้วย) จนแม้จะดีใจมากที่เรื่องนี้เข้าฉาย หลังจาก The Boxtrolls อนิเมชั่นสต๊อปโมชั่นเรื่องก่อนของ Laika ไม่ได้มาฉายในไทย ก็ยังแอบเสียดายนิดๆว่าอยากดูเป็น 3D ดูซะกะหน่อยจังเลยน้า... (หนังมีฉายแต่ 2D)

ส่วนคนดูทั่วไปที่ผ่านตาตัวอย่างหนัง การ์ตูนอนิเมชั่นบรรยากาศตำนานญี่ปุ่นเรื่องนี้ มีทั้งความประณีตนิ่มนวล ก็อย่างที่บอกว่าทีแรกดูตัวอย่างที่ตัดมาผมหลุดสังเกตไปด้วยซ้ำว่า นี่มันไม่ใช่ภาพคอมพิวเตอร์สร้าง โดยเฉพาะตัวละคร แม้ว่าพอรู้มาทีหลังแล้วไปดูดีๆในตัวอย่างก็เห็นว่ามันเป็นเทคนิคสต๊อปโมชั่น แต่มันก็ยังลื่นไหลและนิ่มนวลอย่างน่าทึ่งและน่าประทับใจ อีกทั้งการเลือกใช้ฉากบางฉากเป็นภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิกยังช่วยสร้างบรรยากาศและความ กว้าง ให้กับทิวทัศน์และสภาพแวดล้อมของหนังได้อย่างดี ส่งผลให้หนังสวยงาม ทั้งมันยังมีความ อลังการ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและเทคนิคสต๊อปโมชั่นได้อย่างเยี่ยมยอด การออกแบบเองก็มีเอกลักษณ์น่าประทับใจ และการใช้เทคนิคสต๊อปโมชั่นยังสร้างบรรยากาศเฉพาะ รวมไปถึงเข้ากับสิ่งที่หนังเลือกมาเล่าในครั้งนี้ได้อย่างดียิ่ง ทั้งการพลิ้วไหวของเสื้อผ้าหรือผมของตัวละคร การขยับไหวของกระดาษพับ คิริกามิ ภายใต้มนต์วิเศษ ยังดูมีชีวิตชีวาอย่างยิ่งในอนิเมชั่นเรื่องนี้

เรื่องราวของหนังเป็นการเล่าเรื่องของเด็กชายคูโบ้ และเรื่องราวหนหลังอันเกี่ยวกับความเป็นมาของพ่อกับแม่ของเขา และ ครอบครัว ที่เขาไม่เคยรู้จัก จนในที่สุดเงาจากอดีตก็ทาบทับและผลักดันให้เขาต้องออกเดินทางไปพร้อมๆกับค้นหาเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

[ภาพยนตร์] ABATTOIR บ้านกักผี : ความลับของบ้านสยอง


แบบสั้นๆ

จริงๆก็คิดว่าจะหาโปสเตอร์เวอชั่นไทยมาลง แต่เห็นเวอชั่นนี้ก็คิดว่ามันก็เข้าทีดีเหมือนกัน เดี๋ยวไว้หามาแปะด้านล่างๆไว้ละกันครับ

การไปดูหนังเรื่องนี้เป็นด้วยความเผอิญหลายอย่างซึ่งคงไม่นำมาสารธารยายไว้ในที่นี้ แต่ที่พอจะสนใจทั้งที่อ่านชื่อไทยก็ดูจะน่าสนอยู่ครึ่งๆกับว่าดูเป็นชื่อธรรมดา กับชื่อว่า บ้านกักผี ก็เพราะไปอ่านพลอตเรื่องที่ว่า ไอบ้านกักผีที่ว่าเป็นการสร้างขึ้นมาจากส่วนต่างๆของบ้านหลายหลังที่เคยเกิดการฆาตกรรมมาก่อน...

พลอตดูเหมาะกับคอหนังสยองอย่างไรชอบกล รู้แถมมาอีกนิดว่า ผู้กำกับคือ ดาเรน ลินน์ โบสแมน (Darren Lynn Bousman) ผู้กำกับ Saw ภาค 2-4 อะไรประมาณนี้ ซึ่งแม้จำได้ว่าไม่ได้ดูทุกภาค แต่ก็น่าจะดูถึงภาคแถวๆนี้ และก็ยังคิดว่ามันก็ยังสนุกดี (อย่างไรก็ไม่มีภาคไหนสู้ภาคแรกได้ - เพิ่งกล่าวแบบนี้ไปนี่นะ - ส่วนผู้กำกับภาคแรกอย่าง เจมส์ วาน ก็ไปไกลมากก ทั้ง Insidious Fastฯ 7 หรือ The Conjuring ทั้ง 2 ภาค แถมนี่ยังจ่อคิวกำกับ Aquaman ของ DC อีก!) แม้ไม่ใช่เครื่องการันตีอะไรมาก แต่ก็ช่วยเพิ่มอะไรซักอย่างเข้าไปในการตัดสินใจล่ะนะ

ในหนังช่วงแรกหลังจากได้เจอเรื่องราวโหดๆวูบไปวูบมา พร้อมแผนผังบ้านโน่นนี่ หนังก็เริ่มนำเราเข้าสู่เนื้อเรื่อง เริ่มจากนักข่าวสาวคนหนึ่ง แฟนของเธอซึ่งเป็นตำรวจ และครอบครัวของพี่สาวของเธอซึ่งมีลูกชายหนึ่งคน หนังในช่วงนี้สำหรับผมแล้วถือว่าถ้าไม่พลาดก็ธรรมดา แคสติ้งพอใช้ได้ แต่ตัวละครอย่างแฟนนางเอกนี่คิดว่าเซตลุคขี้แอ็คกับชอบยิงคำคมมาเยอะเกินพอดีไปหน่อย การแสดงอาจไม่มีอะไร แต่กับการเล่าเรื่องในแต่ละฉากก็ถือว่าพอไปได้ ที่ผมพิลึกในส่วนนี้คือจังหวะของหนัง เพราะรู้สึกว่ามันแปลกๆ เหมือนมันห้วนๆ รีบๆลนๆ และเนื้อเรื่องในทางการตามหาความจริงแบบมีอารมณ์หนังสืบสวนนิดๆนี่ก็ไม่ได้ดีพอจะดึงเรื่องราวไว้ได้ซะด้วย จนพอเข้าสู่พาร์ทของการตามหาความจริงที่นำไปสู่เมืองเมืองหนึ่งนั่นแหละ อะไรๆค่อยเข้ารูปเข้ารอยหน่อย แม้จะคงไม่พ้นอารมณ์สยองแบบรู้อยู่แล้วไปหน่อย แต่จังหวะและการแสดงของตัวละครที่เริ่มเพิ่มเข้ามาช่วงนี้ แม้จะดูประหลาดๆไฮเปอร์ๆกันไปหมด แต่อารมณ์ของหนังส่วนนี้ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ในเรื่องของการเล่าเรื่องหนังยังชอบพลาดอะไรประหลาดๆที่ไม่น่าพลาด บางจังหวะคิดว่าบิ๊วด์โน่นเลาน่มาได้ดีแล้วใช้ได้แล้วก็จะชอบมาแปร่งจังหวะสำคัญเอาหลายที ทำเอาเสียดายไม่น้อย แต่เรื่องราวในส่วนนี้และหลังจากนี้ ซึ่งจะนำไปสู้เรื่องราวและความเป็นมาของ บ้าน หลังที่ว่าก็ถือว่าน่าสนใจและมีอะไรๆมาเล่าได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะในเรื่องของ ความเชื่อและเงื่อนไขของความเชื่อ และการมีอะไรๆร่วมกัน (ทำเอานึกไปถึง หนังเรื่อง The Dressmaker แม้ว่าหนังจะไม่มีอะไรแซ่บๆขนาดนั้นก็ตาม (โดยเฉพาะ เคท วินสเลท) และถ้าให้พูดตามตรง บางพาร์ทที่น่าสะพรึงในหนังเรื่องนั้น ทั่วๆไปยังทำได้ดีกว่าความน่าสะพรึงในหลายช่วงในหนังเรื่องนี้ซะอีก) แม้ว่าเรื่องราวลักษณะนี้จะไม่ได้ถือว่าเป็นของใหม่ถอดด้ามอะไร แต่คิดว่าเรื่องราวในส่วนนี้ของหนังก็ทำได้ดีใช้ได้ทีเดียว ซึ่งนอกจากพลอตน่าสนแล้ว ในพาร์ทส่วนนี้ถือว่าหนังมีเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและสร้างความน่าสะพรึงรวมทั้งเล่าเรื่องในช่วงนี้ได้ดีทีเดียว แม้จะชอบพลาดจังหวะสำคัญในหลายจังหวะไปอย่างน่าเห็นใจ(?)

13 เกมสยอง : แนะนำ 13 เกม! จากหนัง การ์ตูน และมังงะ

เป็นอะไรที่เคยๆคิดๆไว้ตอนดู Nerve ไป แล้วก็คิดๆไปถึง 13 เกมสยอง ซึ่งดัั้งเดิมเป็นการ์ตูนไทยโดย คุณ เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ ตั้งแต่วิบูลย์กิจยังปั้นไทยคอมมิคอยู่เลย และต่อมากลายเป็นหนังโดยการกำกับของ มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย คุณ น้อย กฤษดา สุโกศล แคลปป์

พอนึกไปถึง 13 เกมสยอง แบบนี้ก็ลองๆนึกต่อดูว่ามันมันโน่นนี่ที่เข้าแก๊บให้นึกถึง 'เกม' อีกไหม? ซึ่งจริงๆก็น่าจะมีเยอะ แต่เราก็พยายามตีกรอบให้มันอยู่ในขอบเขต เพื่อจะได้พ้องกับ '13' 'เกมสยอง' เพื่อจะได้ดูมีธีมหน่อย (แค่เนี่ยอ่ะนะ?!)

ก็เลยมาแนะนำอะไรๆ 'เกม'ๆ ที่พอจะรู้จักกันซัก 13 เกม เผื่อให้ใครที่ดู Nerve แล้วยังอยากหาเกมอื่นๆมาดูบ้างจะได้ไปลองหามาดูมาอ่านกันนะครับ ทีแรกจึงคิดว่าจะพยายามเลือกอะไรที่อยู่ในขอบเขตเกมที่ไม่แฟนตาซีหลุดโลกมาก และให้อยู่ในขอบเขตความสยองหน่อย แต่จริงๆด้วยความที่อยากให้ครบ 13 แล้วพอลองนึกๆดูจริงๆ เราก็ใช่จะรู้จักโน่นนี่มากขนาดนั้นไหม? จะไปลองค้นไปหามาอ่านก่อน กว่าจะครบ 13 ก็อาจถูกดองไปอีกหลายเพลา...

อย่ากระนั้นเลย สุดท้ายเราก็ขอแหกกฎตัวเอง นับ 'เกม' ที่พอผ่านตามา เท่าที่พอจะจำขุดคุ้ยหรือระลึกได้ แล้วขอแนะนำกันไปก่อนเลยดีกว่า ไว้มีอื่นๆอยากแนะอีกก็ค่อยหาเรื่องหาธีมอะไรซักอย่างมาแนะนำอีกก็ได้นี่!

เพราะงั้น เริ่มแนะนำ 13 เกมสยอง กันเลยนะครับ!


เกมที่ 1THE 13th QUIZ SHOW / 13 เกมสยอง


การ์ตูน THE 13th QUIZ SHOW โดยคุณ เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ ถ้าจำไม่ผิดแรกเริ่มลงในไทยคอมมิค ซึ่งก่อนนั้นคุณเอกสิทธิ์ไทยรัตน์เคยส่งการ์ตูนสั้นและได้ลงในไทยคอมมิค ก่อนจะได้มีการ์ตูนยาวลงต่อเนื่องและรวมเล่มในชื่อ โครงการมรณะ (ถือเป็นการ์ตูนไทยในตำนานเรื่องนึง) ด้วย และภายหลังเป็นหนึ่งในการ์ตูนสั้นที่นำมารวมเล่มในชื่อ MY MANIA โดย สนพ. วิบูลย์กิจ ซึ่งในเล่มเป็นการ์ตูนสั้นในสไตล์หักมุมจบ ที่มีไอเดียน่าสนใจ น่าทึ่ง และน่ากลัว รวมอยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จทีเดียว มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

[ภาพยนตร์] SHIN GODZILLA ก๊อตซิลล่า : อหังการก๊อตซิลล่าคืนถิ่น!



แบบสั้นๆ

นี่ก็เพิ่งเจอสองตำนานสยองญี่ปุ่นมาเจอะกันไป มาเจออีกหนึ่งตำนานคืนชีพอย่าง ก๊อตซิลล่า บ้าง!

ก๊อตซิลล่าภาคท้ายสุดที่ผ่านมาของญี่ปุ่น คือ FINAL WAR (ชื่อภาคดูตั้งใจปิดตำนาน) ในการกำกับของ ริวเฮ คิตามูระ ผู้กำกับสายแอ็คชั่น และได้กำกับหนังสยองในฮอลลีวู้ด (ที่มือขึ้นกว่ามากในการกำกับหนังแอ็คชั่นจากมังงะที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิง อย่าง SKY HIGH (ที่โทนไม่เหมือนต้นฉบับเลย...แต่สนุกดี) และ AZUMI เป็นต้น) ซึ่งขนสัตว์ประหลาดมาเยอะ และทั้งฝ่ายมนุษย์และก๊อตซิลล่าจะได้ออกแอ็คชั่นกันตามสไตล์ผู้กำกับ นั้นสำหรับผมนั้นมีรสชาติแปร่งๆบอกไม่ถูก จนทำให้ก๊อตซิลล่าภาคสุดท้ายที่ชอบก็ยังคงเป็น ก๊อตซิลล่า 2000 มายาวนาน แม้จะไม่ค่อยหวังว่าจะได้เห็นก๊อตซิลล่าภาคใหม่จากโตโฮหรือประเทศญี่ปุ่นนัก แต่ก็ให้หวั่นใจเหมือนกันกันว่า ถ้าจะกลับมา ก๊อตซิลล่าจะกลับมาท่าไหน?...

และในที่สุด... ก๊อตซิลล่า ก็กลับมาอีกครั้ง ก๊อตซิลล่า'ใหม่' (หรือในชื่อ Godzilla Resurgence) ตัวนี้จะเป็นอย่างไร?!

มาในชื่อไทยว่า ก๊อตซิลล่า เฉยๆ (ซึ่งเหมือนกับ Godzilla จากฮอลลีวู้ดเมื่อราว 2 ปีที่แล้ว ที่ กาเร็ต เอ็ดเวิร์ดส์ กำกับ เปี๊ยบเลย... ไม่มีการสร้างสรรค์ชื่อให้สมกับชื่อชาติบ้านเมืองอื่นเลย ช่างน่าน้อยใจ - แต่จริงๆเรียบๆหรูๆ(?)แบบนี้ก็ดูเหมาะแล้วแหละ เพราะ... อ่านต่อไปดูละกันครับ - ส่วนเวอชั่น โรแลนด์ เอมเมอริช ปี ค.ศ. 1998 ที่โดนด่ากระจาย มีชื่อไทยว่า "อสูรพันธุ์นิวเคลียร์ล้างโลก" จ่ะ... อลังการไปเลยไม๊ล่ะ!??? - ต่อไปเข้าเรื่องเหอะนะ...)

จะว่าเซอไพรส์ก็ไม่เชิง แต่ก็เซอไพรส์อยู่เหมือนกันล่ะนะครับ ข้อแรกคือก๊อตซิลล่าภาคนี้สนุก 'มาก' (แม้จะพูด 'มากๆ' ก็ตาม - น่าจะเป็นก๊อตซิลล่าภาคที่พูดมากที่สุด ที่พูดคือไม่ใช่ก๊อตซิลล่าพูดนะครับ)
ข้อสอง คือ มันเป็นหนังที่ก๊อตซิลล่าน่ากลัวสมเป็นก๊อตซิลล่า และยังมีเนื้อหาที่มากและลึกกว่าแค่การที่มีก๊อตซิลล่าปรากฎตัวมาทำลายล้างเมือง ด้วย โดยไม่ได้ทิ้ง 'ราก' ดั้งเดิมของก๊อตซิลล่า (หรือ โกจิระ) อีกต่างหาก คือ เยี่ยมจริงๆ น้ำตาจะไหล

ชนิดที่แม้จะคิดว่าก๊อตซิลล่าเวอชั่น 'พี่หมี' จากฮอลลีวู้ด โดยการกำกับของ กาเร็ตส์ เอ็ดเวิร์ด ที่พยายามดึงเอาความเป็นก๊อตซิลล่ามาใส่ให้มากกว่าฉบับแรกขึ้นฝั่งอเมริกาในการกำกับของ โรแลนด์ เอมเมอริช (ตอนนั้นเพิ่งขึ้นหม้อจาก ID4) ที่โดนด่ากระจายเละเทะ (แต่จริงๆถ้าไม่มาเปรียบเทียบเชื่อมโยงอะไรกันมาก ก็ยังคิดว่ามันดูหนุกๆบันเทิงดี) นั้นจะทำได้ดี แม้จะดูคล้ายมวยปล้ำช๊อตเด็ดไปหน่อย แต่ถ้าต้องเทียบกันจริงๆล่ะก็ ชอบเวอชั่นนี้มากกว่าแฮะ ไม่ได้พูดเล่น

จริงๆส่วนตัวมีคดีกับ ผู้กำกับ ฮิเดอากิ อันโนะ ผู้กำกับอนิเมชั่นหุ่นยนต์โลกร้าวรานชื่อดังอย่าง NEON GENESISI EVANGELION อยู่พอควรทั้งที่ชอบอนิเมฉบับแรกมาก (ทั้งซีรี่ส์และฉบับหนังโรงปิดท้าย) และตอนกำเนิดใหม่เป็น 1.0 และ 2.0 ก็ยังตื่นตาตื่นใจ ค่อนข้างชอบ แต่มา 3.0 นี่... (แต่คนชอบก็เยอะนะครับ อันนี้ถือเป็นความชอบของใครของมันละกัน) จนภาวนาว่า เออ จะ 3.0+1.0 รึจะ 4.0 จะ 4.75896 อะไร พายอาร์กำลังสี่ อะไรก็ช่าง ทำมาเหอะให้มันจบๆ แล้ว... เอ่อ เดี๋ยวจะออกทะเลไปเป็นเขียนเรื่องบ่นอีกเรื่อง (แล้วก็ดองอันอื่นๆไปก่อน...) อีกแล้ว ตัดจบไปเลย ไว้ค่อยบ่นอีกทีละกันครับ (ซึ่งเขาจะรู้ไหมครับว่าพี่มีคดีอะไรในใจเป็นการส่วนตัวกับหนังเขา? หือ!?)

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

[ภาพยนตร์] THE NEON DEMON สวย อันตราย : ความสวย แลหลอนหลอก ในวังวนของแสงนีออน แลสไตล์



แบบสั้นๆ
นิโคลัส วีนดิ้ง เรฟีน เป็นผู้กำกับชาว เดนมาร์ก ที่เปล่งประกายให้หนังที่เขากำกับด้วยการมีรูปลักษณ์และสไตลส์เฉพาะตัว และแม้เรื่องราวของหนังในการกำกับของ นิโคลัส วีนดิ้ง เรฟีน ถ้าเล่าออกมาแล้วอาจจะดูไม่ได้แปลกแตกต่างมากมาย แต่เมื่อได้สัมผัสกับ 'ความเฉพาะตัว' ทั้งเรื่องของการออกแบบ หรือข้าวของในหนัง อย่างเช่น แจ๊กเกตแมงป่อง ของ ไรอัน กอสลิ่ง ใน Drive แสงไฟ ลายบนฝาผนัง ฯลฯ หรือการเล่าเรื่อง การเคลื่อนกล้อง ฯลฯ ว่าไปแล้ว สไตล์ของ นิโคลัส วีนดิ้ง เรฟีน อาจมีความชัดเจนกว่าปูมของคาแรคเตอร์หรือเรื่องราวของตัวหนังเองจริงๆซะอีก แต่นั้นก็เป็นการเพิ่มรสชาติให้เรื่องราวจนความเฉพาะตัวนี้สามารถทำให้หนังอย่าง Drive มีทั้งบรรยากาศของความลึกลับ ความหลอกหลอน ความรุนแรง ความนุ่มนวล กระทั่งความแมน เจือด้วยความวาบหวามกระทั่งความร้อนแรงไปพร้อมๆกัน ทั้งๆที่เราเองก็ไม่ได้รู้จักเรื่องราวของตัวละครมากเท่าไหร่ แต่เราก็ยังสัมผัสกับตัวละครและกลิ่นของเรื่องราวได้จากความจัดจ้าน(แม้ดูนิ่งเนิบและนุ่มนวล) ด้วยความเฉพาะทางด้านสไตล์ของ นิโคลัส วีนดิ้ง เรฟีน นี่เอง กระทั่ง Only God Forgive ที่ถ่ายทำในประเทศไทย และมีนักแสดงไทย อย่าง รฐา โพธิ์งาม และ วิทยา ปานศรีงาม (แม้เขาจะดังในต่างประเทศมากกว่า - แสดงใน The Hangover Part II ด้วย) และนักแสดงไทยในอีกหลายบท ร่วมแสดงในเรื่อง สไตล์ของเขาก็ยังคงเติมรสชาติและความลึกของรสชาติให้กับหนังและตัวละครได้อย่างน่าสนใจ ทั้งยังคงความ 'แมน' และสร้างบรรยากาศ จังหวะ และความรู้สึกเฉพาะตัวให้แก่หนังเอาไว้ด้วย

ซึ่งจากการผ่านตาหนังทั้ง 2 เรื่องของเขาที่กล่าวมา ก็ทำให้ผมอยากจะไปลองหาผลงานกำกับเรื่องก่อนๆของเขาก่อนจะมาร่วมงานในฮอลลีวู้ด อย่าง Pusher หรือ Bronson มาดูซักทีทีเดียว แต่ท้ายที่สุดก็ยังไม่ได้หามาดูเสียที...

มาใน Neon Demon นิโคลัส วีนดิ้ง เรฟีน ร่วมงานกับนักแสดงอย่าง แอล แฟนนิ่ง เพื่อเล่าเรื่องราวเบื้องหลังวงการเดินแบบ ผ่านการเข้าสู่วงการในเมืองใหญ่จากเมืองห่างไกลแสงสีของวงการ และเลือกเอารูปโฉมซึ่งเป็นสมบัติติดตัวของเธอ มาเป็นตั๋วผ่านเข้าไปท่ามกลางแสงไฟ เพื่อแลกกับการดำรงชีวิต โลกที่เธออาจยังไม่รู้จักดีพอ ท่ามกลางคนที่เธอไม่เคยรู้จัก... ท่ามกลางความปรารถนามากมายที่เธอไม่เคยได้ลองลิ้มรส...

กล่าวอย่างไม่เยิ่นเย้อ นิโคลัส วินดิ้ง เรฟิน ยังคงนำมาเอา 'บรรยากาศเฉพาะตัว' และ 'สไตล์' มาใส่ลงในหนังเล่าเรื่องราวเบื้องหลังวงการนางแบบได้อย่างน่าสนใจ ทั้งยังสร้างบรรยากาศของความลึกลับ หวาดระแวง อารมณ์ที่คุกรุ่นอยู่ภายใน ผ่านทั้ง จังหวะ การเล่าเรื่อง และ แสงสี ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสร้างความหลอกหลอนเคลียไปกับเรื่องราวของหนังด้วย

[ภาพยนตร์] PETE'S DRAGON พีทกับมังกรมหัศจรรย์ : เด็กชายพีท มังกรเอลเลียต แอนด์คันทรี่ซอง


แบบสั้นๆ
แม้ว่าความจริงแล้วอาจจะพอถือได้ว่าเป็นการ 'สร้างใหม่' ของหนังเก่าดิสนี่ย์ แต่ Pete's Dragon ฉบับดั้งเดิม เมื่อปี ค.ศ.1977 ก็ไม่ใช่งานที่โด่งดังของดิสนี่ย์ (ซึ่งความจริงแล้ว ก็ถือเป็นงานดูสนุก มีเพลงเพราะๆ เรืองนึงของดิสนี่ย์ แถมยังมีความทะเยอทะยานบางอย่างที่น่าทึ่งทีเดียว แต่เราจะเก็บไว้พูดทีหลังก็แล้วกันครับ) แถมความจริงดูเหมือนว่าแทนที่จะเอาของเก่ามาสร้างใหม่ หนัง Pete's Dragon ฉบับนี้กลับเป็นหนังที่เหมือนจะเก็บคุณสมบัติบางอย่างของหนังฉบับเดิมไว้ แล้วเล่าเรื่องในแบบของตัวเอง ซึ่งสิ่งที่หนังเก็บไว้ก็ดูจะมีเพียงลักษณะบางอย่างของคาแรคเตอร์เดิมๆเท่านั้น อย่างเช่น เด็กชายชื่อพีท มังกรสีเขียวชื่อเอลเลียตที่ (เห็นในตัวอย่างแล้วนา) หายตัวได้ และตัวละครบางตัว เป็นต้น ส่วนท่าทีของหนังนั้นต่างกับต้นฉบับชนิดเป็นคนละเรื่องก็ว่าได้

ฉะนั้นสำหรับคนที่ไม่เคยดูเวอชั่นเก่าก็ดูเสมือนเป็นหนังเรื่องหนึ่งที่มีตัวเอกเป็นเด็กชายชื่อพีท มังกรชื่อเอลเลียตได้เลย แต่สำหรับผู้ที่เคยดูฉบับเก่าแล้วชื่นชอบ กลัวว่าฉบับใหม่จะเปลี่ยนไปมากจนอาจจะไม่น่าประทับใจ ก็ยังอยากเชียร์ให้ไปดูฉบับนี้ของดิสนี่ย์ดู เพราะแม้ท่าทีจะต่างไปมาก แต่มันยังมีความน่าประทับใจ ความสนุกสนาน และความอบอุ่นแฝงอยู่ในหนังเรื่องนี้ไม่น้อยเลย

ถ้าให้พูดสั้นๆ อย่างแรกเลยคือ ผมรู้สึกสนุกตั้งแต่ได้เห็น ป๋าโรเบิร์ต เรดฟอร์ด แสดงเป็นคุณลุงผู้เคยพบเห็นมังกรแล้ว ชอบลุงในบทแบบนี้แบบแปลกๆ และคาแรกเตอร์ทุกคนก็แคสมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ไบรซ์ ดัลลัส ฮาวเวิร์ด ที่เธอเพิ่งไปวิ่งหนีมังกร(?)ใน Jurassic World มาไม่นาน (มันใช่เหรอน่ะ?!) ก็คิดว่าบทของเธอในเรื่องนี้มีโอกาสได้แสดงแง่มุมที่อบอุ่นมากกว่า (ก็อีกเรื่องเน้นวิ่งเป็นหลักนี่นะ ใส่ส้นสูงวิ่งอีกต่างหาก คิดดู) และเธอก็เข้ากับบทได้ดีทีเดียว น้องหนูอูน่า ลอเรนซ์ ก็แสดงได้ดี หรือคาร์ล เออบัน ก็เล่นในบทฝ่ายมุทะลุร้ายของหนังได้ดี โดยเฉพาะน้องหนู โอ๊คส์ เฟกเลย์ ในบทพีท สามารถถ่ายทอดทั้งความคล่องแคล่วระวังระไวขี้เล่นขณะอยู่ในป่า และปฏิกริยาขณะที่เข้ามาอยู่ในความดูแลของคนเมืองได้ดี โดยเฉพาะความผูกพันกับเอลเลียต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตีวละคร(คอมพิวเตอร์สร้าง)ที่แสดงได้ดีมากอีกตัวละครนึง! แม้ว่าหนังจะเปิดเรื่องด้วยท่าทีที่น่าเศร้ากว่าหนังต้นฉบับ และแม้โทนของหนังจะออกไปในทางดราม่ามากกว่า แต่ก็เต็มไปด้วยความอบอุ่น สดใส ด้วยเช่นเดียวกัน

แม้ว่าในปีนี้ดิสนี่ย์จะร่ายมนต์มหัศจรรย์ใส่หนังที่เต็มไปด้วยตัวละครสรรพสัตว์คอมพิวเตอร์สร้างใน The Jungle Book อย่างสมจริงและน่าประทับใจไปแล้ว และในเรื่องนี้อาจมีเพียงมังกรเอลเลียต ดีไซน์มังกรเอลเลียตน่าสนใจดีเมื่อมันถูกออกแบบให้มีขนปุกปุย (ซึ่งทางผู้สร้างบอกว่าตั้งใจให้มันมีลักษณะแบบนี้และแตกต่างจากมังกรแบบที่เราคุ้ยชิน) และละม้ายคล้ายกับสุนัขอยู่มาก (ซึ่งดูไม่เหมือนกับต้นฉบับเลยยกเว้นยังคงมีสีเขียว) แม้อาจไม่ใช่การออกแบบที่สะดุดตาเด็ดขาดเมื่อเห็นในทีแรก แต่ก็อย่างที่บอกเจ้ามังกรเอลเลียตเป็นอีกหนึ่งตัวละครสำคัญของหนังที่มาถ่ายทอดความผูกพัน ความห่วงใยพีท ไปจนถึงความขี้สงสัย ขี้เล่น น่าเอ็นดู ไปจนถึงความหวาดกลัว และความโกรธเกรี้ยว ได้เป็นอย่างดี

ตัวละครเหล่านี้ซึ่งถ่ายทอดการแสดงที่ดี และอบอุ่นมายังผู้ชม ยังถูกคุมไว้ภายใต้บรรยากาศการเล่าเรื่องและโทนของเรื่องอย่างพอเหมาะพอเจาะ โดยการกำกับของ เดวิด โลเวอรี่ (ซึ่งร่วมเขียนบทด้วย) ที่เคยผ่านตางานกำกับดราม่าที่เป็นผู้ใหญ่กว่าของเขาอย่าง Ain't Them Bodies Saints (รูนี่ย์ มาร่า, เคซี่ อัฟเฟลค และ เบน ฟอสเตอร์ (ที่เพิ่งผ่านตากันไปใน Hell or High Water ซึ่งว่าไปก็ทำให้รู้สึกถึงตัวละครในลักษณะปุถุชนในแบบไม่ห่างกันนักได้เหมือนกัน นึกได้แล้วก็น่าจะแนะนำเรื่องนี้ไว้ด้วยเหมือนกัน)) ซึ่งในเรื่องนั้นจำได้คลับคล้ายว่าแม้เราจะไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่กับหลายๆการตัดสินใจหรือการกระทำของตัวละคร แต่เราก็ยังรู้สึกถึงความรักใคร่ ความอบอุ่น ความอาทร เคล้าคลอไปกับเรื่องราวและตัวละครของหนังได้อย่างประหลาด ซึ่งในการมาทำหนังที่มีความเป็นเด็กมากขึ้น และต้องเล่นกับเอ็ฟเฟคท์อย่างนี้ ดูเหมือนผู้กำกับ เดวิด โลเวอรี่ ก็ยังนำเอาลักษณะเฉพาะในการคุมโทนของเรื่องราวและความรู้สึกมาใส่ไว้ใน Pete's Dragon ฉบับนี้ได้อย่างนวลเนียนไม่น้อย หนังจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกของความอาทร และรายละเอียดเล็กๆในแต่ละการกระทำของตัวละครที่ทั้งช่วยเพิ่มความสมจริงและความรู้สึกให้กับการกระทำของตัวละครผ่านการถ่ายทอดอากัปกริยาของนักแสดงได้อย่างดี ซึ่งกริยาเล็กๆน้อยๆ อย่างเช่น การปัดปอยผมของเอลเลียต หรือกริยาท่าทางเล็กๆน้อยๆในหลายช่วงของตัวละครเป็นอีกสิ่งที่ชอบมากในเรื่องนี้ แม้นี่จะเป็นหนังที่หน้าตาเป็นหนังเด็กและมังกรมายามันก็เป็นหนังที่มีความรู้สึกที่โตแล้ว(อย่างอาทร)ผสมอยู่ซึ่งช่วยเติมความรู้สึกสมจริงและหนักแน่นให้เรื่องราวในหนังได้อย่างดี และมังกรอย่างเอลเลียตก็ไม่จำเป็นต้องมาปรากฎตัวเพื่อให้หนังมีท่าทีที่ยิ่งใหญ่หรือความรู้สึกใหญ่โต (แม้คงจะต้องใช้ตังค์เยอะก็เถอนะ) แต่มาปรากฎในฐานะตัวละครและส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่ต้องมีเจ้ามังกรเอลเลียตเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของเรื่องได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ

[ภาพยนตร์] NERVE เล่นเกม เล่นตาย : เลทส์มีทเดอะ 'บิ๊ก' บราเธอ'ส์'


แบบสั้นๆ
แม้น้อง เอ็มม่า โรเบิร์ตส์ อาจดูผอมแห้งไปนิดนอก็โอเคครับ 7.9 คะแนน

เอาแค่นี้ก็น่าด่าเหมือนกันนะ อุตส่าห์สร้อยซะใหญ่โต อืม... จริงๆคิดว่าตอนดูเรื่องนี้อาจจะตั้งแต่ตัวอย่างแล้ว บางคนคงนึกไปถึงการ์ตูนไทย (โดยคุณ เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์) และหนังไทย (กำกับโดย มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีรกุล) อย่าง 13 เกมสยอง (แถมฮอลลีวู้ดยังซื้อไปรีเมกด้วย ฉายเมื่อไม่นานเม่าไหร่นักไปนี่เอง แต่ไม่ได้ดู) ซึ่งผมเองก็รู้สึกแบบนั้นอยู่เหมือนกัน แต่ที่ยังรู้สึกว่าน่าไปดูซักที ไม่เกี่ยวกับ เอ็มม่า โรเบิร์ตส์ ก็คือการที่ 'เกม' ในเรื่องแม้โครงหลักๆจะดูคล้ายกับเรื่องราวในรูปรอยของ 13 เกมสยองอยู่มาก แต่มันก็มีเรื่องราวที่สอดรับไปกับบริบทของปัจจุบัน(หรืออนาคต?อันไม่ไกล?) ของทั้งรูปแบบชีวิตและเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้อยู่มาก ซึ่งก็จริงครับ พอไปดูแล้วคิดว่านี่เป็นส่วนที่ทำให้หนังน่าสนใจเอาเรื่องและดูสนุกใช้ได้ทีเดียว

และเรื่องที่น่าสนใจเรื่องนึงก็คือเรื่องของการเฝ้ามองและการถูกเฝ้ามอง

แน่นอนว่าในทุกวันนี้เรื่องของการถูก 'เฝ้ามอง' จะเพื่อดูแลความเรียบร้อยหรือรักษาระเบียบหรืออื่นๆก็ยังคงเป็นหัวข้อที่น่าหวาดวิตกและเป็นเรื่องใหญ่ที่มีการให้ความสำคัญในระดับต่างๆกันไป โดยเฉพาะเมื่อมองในมุมของ 'อำนาจ' และการ 'ควบคุม'

ในแง่นึงเมื่อมีฝ่ายที่สามารถเฝ้ามองและควบคุมเราโดยที่เราไม่รู้ว่าถูกเฝ้ามองหรือถูกควบคุมอยู่แค่ไหน? มันก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะ 'เหนือกว่า' ไม่ว่าจะโดยเอกฉันท์หรือกลายๆก็ตาม และโดยแนวความคิดในปัจจุบันที่มีการให้ความสำคัญกับเรื่องของความเป็นส่วนตัว (privacy) มากขึ้น มันก็ยิ่งทำให้หัวข้อเหล่านี้เป็นที่พูดคุยหรือถกเถียงกันมากขึ้น แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่ถ้าเรารู้สึกว่าถูก 'เฝ้ามอง' เราก็น่าจะไม่ชอบสถานะที่ว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการถูก 'ควบคุม' และอาจทำให้เรารู้สึกถึงการถูก 'อำนาจ' ที่เหนือกว่าครอบคลุมอยู่

แต่ความจริงในปัจจุบันมันก็มีสถานการณ์และรูปแบบหลากหลายขึ้นที่จะทำให้เราถูก 'เฝ้ามอง' ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยยินยอมหรืออาจไม่ยินยอม แม้อาจไม่ใช้การถูก 'เฝ้ามอง' ทุกขณะของชีวิต แต่เป็นบางส่วนก็ตาม เช่น การที่เรายกเลิกบัตรเครดิตธนาคารนึงไปแล้วไม่นานก็อาจมีธนาคารอื่นโทรมาเสนอบัตรเครดิตพร้อมข้อเสนอที่แตกต่างให้กับเราในเวลาไม่นาน หรือการที่โฆษณาบางอย่างถูกส่งผ่านผลการค้นหา หน้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม หรือกระทั่งข้อความหรือแอพพลิเคชั่น ได้ตรงกับข้อมูลการซื้อในอดีตหรือรสนิยมของเราเสียเหลือเกิน ซึ่งอาจเกิดจากการประมวลผลการค้นหาประจำบนเครื่อง บนโปรแกรม บนแอคเคาท์ บนบัตรสมาชิก หรือเครื่องมือชื่อน่ารักอย่าง Cookies ฯลฯ ของเรา ซึ่ง ในแง่มุมบางอย่างนี้อาจมี 'ความสะดวก (ที่เราอาจไม่รู้รายละเอียดเบื้องหลัง)' ที่บางคนชอบบางคนชังแตกต่างกันไปก็ได้

แต่เราจะพูดถึงประเด็นประมาณนี้ไว้เท่านี้พอก่อน เพราะลักษณะของ 'เกม' ใน Nerve นั้นก็ต่างออกไปจากลักษณะเหล่านี้

"In the future, everyone will be world-famous for 15 minutes."
Andy Warhol 

ไหนๆก็น่าจะยกประโยคที่มีชื่อเสียงประโยคหนึ่งนี้ (ซึ่งถูกเสนอไว้ตั้งแต่ราวๆยุค 70 ยุค 80 ) มาเสนอไว้เสียหน่อย ที่ว่า ในอนาคตทุกๆคนจะได้กลายเป็นคนมีชื่อเสียงกันซักคนละ 15 นาที ไม่ว่าประโยคนี้ดั้งเดิมแล้วจะเป็นคำกล่าวของ แอนดี้ วอร์ฮอล หรือไม่ก็ตาม? เพราะแม้ว่าในปัจจุบันนี้ประโยคนี้อาจไม่จำเป็นต้องเทียบเคียงเฉพาะเพียงกับเรื่องราวใน Nerve เพียงเท่านั้น แต่มันก็ดูเข้ากันกับเรื่องราวที่เกิดใน Nerve อย่างยิ่ง

เรื่องที่ Nerve เอามาเล่นนั้นเป็นเรื่องราวและรูปแบบที่สอดรับกับทั้งเรื่องราวของ 'การเฝ้ามอง' และ ประโยคข้างต้นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเราก็ได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเมื่อปรากฎทั้งผู้มีชื่อเสียง (ทั้งมนุษย์และไม่ใช่ - แม้ทั้งหมดก็น่าจะโดยมนุษย์เป็นสำคัญก็ตาม) ผ่านการ 'นำเสนอ' หลายระดับที่มีทั้งคุณสมบัติของ 'ความปัจจุบันทันด่วน' 'เหตุการณ์สด' และ 'การส่งต่อและแพร่กระจาย' อย่างรวดเร็วผ่านเทคโนโลยี อุปกรณ์ และโลกออนไลน์ ซึ่งจริงๆเรื่องเหล่านี้ก็สัมผัสได้ผ่านตัวอย่างของหนังอยู่แล้ว

ความจริงถ้าพูดกลับกัน 'ความมีชื่อเสียง' นั้นก็ต้องเกิดจาก 'การรับรู้ของคนหมู่มาก' อยู่แล้ว ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็สอดรับกับโลกและเกมที่ Nerve สร้างขึ้นได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันผนวกเอาเรื่องของ เงินรางวัล เข้าไว้เป็นสิ่งตอบแทนในเกมด้วย